แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1

Main Article Content

ธนกร นามวิชัย
บรรจบ บุญจันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 2) เปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาจำแนกตามขนาดโรงเรียน และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน  335 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 18 คน และครู จำนวน 317 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.894 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเพื่อหาแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การวัดและการประเมินผล (equation= 4.62, S.D. = 0.48)

  2. การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีความแตกต่างกันมีจำนวน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการวัดผลและการประเมินผล ด้านการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีทางการศึกษา และด้านการประกันคุณภาพทางการศึกษา

  3. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านการพัฒนาหลักสูตร ควรศึกษาบริบท และความต้องการของชุมชน เพื่อให้หลักสูตรมีความหมายต่อผู้เรียนอย่างแท้จริง ด้านการจัดการเรียนการสอน ควรส่งเสริมให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้เชิงรุก เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงและทักษะการคิดแก้ปัญหา ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ด้านการนิเทศการศึกษา ควรวางแผนการนิเทศการศึกษาร่วมกัน กำหนดปฏิทินการนิเทศที่เหมาะสมและชัดเจนโดยให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือและพัฒนา ด้านการวัดผลและประเมินผล ควรพัฒนาครูให้มีความสามารถสร้างเครื่องมือ    วัดผลและประเมินผลที่ถูกต้อง ตรงตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการพัฒนาสื่อ-เทคโนโลยีทางการศึกษา ควรสำรวจและจัดหาสื่อให้ตรงตามความต้องการและอย่างเพียงพอ และด้านการประกันคุณภาพทางการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาควรประชาสัมพันธ์ผลการปฏิบัติงานประจำปีต่อผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนและหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อผู้รับบริการ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ธนกร นามวิชัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์

บรรจบ บุญจันทร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์

References

จิตสุภา สง่าแสง และนิพัชชา โรจน์รัตนวาณิชย์. (2565). การศึกษากรอบแนวคิดการบริหารงานวิชาการกลุ่มโรงเรียนตามแนวคิดทักษะข้ามวัฒนธรรม. วารสารพัฒนาการเรียนรู้สมัยใหม่, 7(7), 403-416.

ชนกานต์ เอี่ยมสะอาด. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพิษณุโลก. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ดวงนภา เตปา. (2562). การพัฒนาคู่มือการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนบ้านท้าวบุญเรือง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ตรีสุคนธ์ คูนาเอก. (2563). แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธริศร เทียบปาน. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาในเขตจังหวัดภาคใต้. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

นุชเรศ คำดีบุญ. (2564). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปรีดา บัวยก. (2564). รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

พัชญ์พิชา จันทา. (2563). แนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ศุภวรรณ การุญญะวีร์. (2564). การเรียนการสอนสำหรับนักเรียนในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด19. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์, 2(2), 48-55.

สดใส ศรีสวัสดิ์, สิทธิพร ประวัติรุ่งเรือง และขวัญหญิง ศรีประเสริฐภาพ. (2565). รูปแบบการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์, 16(45), 586-601.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2565). ผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2565. http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Login.aspx

สถาพร สมอุทัย. (2565). การนิเทศการศึกษา หนึ่งตัวช่วยในการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิจัยวิชาการ, 5(3), 275-288.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). ปีทองแห่งการนิเทศภายในห้องเรียนเป็นฐานเพื่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์.

หทัย ศิริพิน. (2558). แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนบ้านกระทุ่มล้ม (นครราษฎร์ประสิทธิ์) . [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Fisk, L. (1957). The task of educational administration. In Roald F. Campbell and Russel T. Gerggse (Eds). Administrative behavior in education. New York: Harper & Row.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining size for research activities. Education and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.