ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5

Main Article Content

วัชรพล สุขวิริยานนท์
อาคม อึ่งพวง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 และ 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นครูและผู้บริหารสถานศึกษา ได้มาจากสูตร Taro Yamane (1973) ที่ระดับความคลาดเคลื่อน .05 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 341 คน จากนั้นสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบ่งชั้นภูมิ ตามของขนาดสถานศึกษา ได้กลุ่มตัวอย่างสถานศึกษาขนาดเล็ก จำนวน 81 คน สถานศึกษาขนาดกลาง จำนวน 198 คน และสถานศึกษาขนาดใหญ่ จำนวน 62 คน รวม 341 คน ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) มีความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ .86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป หาค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-Way-ANOVA)


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (equation=4.47, S.D.=0.185) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการมีความรู้ความสามารถทางเทคโนโลยีและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด (equation=4.52, S.D.=0.226) รองลงมาคือ ด้านการบริหารงานโดยใช้เทคโนโลยี อยู่ในระดับมากที่สุด (equation=4.51, S.D.=0.215) และด้านการเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัล อยู่ในระดับมาก (equation=4.50, S.D.= 0.277) ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการสนับสนุน ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีจัดการศึกษา อยู่ในระดับมาก (equation=4.40, S.D.=0.287)

  2. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกันซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

วัชรพล สุขวิริยานนท์, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์

อาคม อึ่งพวง, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์

References

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2566). แผนปฏิบัติราชการ 5 ปี พ.ศ. 2566-2570. https://www.mdes.go.th/about/56

จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ อุบลราชธานี. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

จีราภา ประพันธ์พัฒน์. (2560). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูสังกัดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ชัยนาม บุญนิตย์. (2563). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ธนกฤต พราหมน์นก. (2560). การศึกษาองค์ประกอบด้านภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียน มัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 17(1), 43-53.

นิคม นาคอ้าย. (2549). องค์ประกอบคุณลักษณะผู้นำเชิงอิเล็กทรอนิกส์และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลภาวะผู้นำเชิงอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นิศาชล บํารุงภักดี. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหาร สถานศึกษากับประสิทธิผลโรงเรียน ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

นิสา แป้นเชียร. (2564). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของครู สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ภัทรา ธรรมวิทยา. (2558). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน ระดับประถมศึกษาในเขตธนบุรี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 10(3), 126-138.

ภัทราพร ธัญกิจเจริญสิน, ศรุดา ชัยสุวรรณและอลงกต ยะไวทย์. (2559). ภาวะผู้นําทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุลมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ภัทร์ธีนันท์ สุวรรณเจริญ. (2563). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของ ครูอำเภอบ้านผือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. วิทยาลัยพิชญบัณฑิต, หนองบัวลำภู.

รุจาภรณ์ ลักษณะดี. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตบ้านบึง 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกริก.

สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุเหด หมัดอะดัม. (2562). ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา. หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Efeoglu, C., & Coruk, A. (2019). The Relationship Between Teachers’ Attitudes Towards Educational Technologies and School Administrators’ Technology Leadership Roles. international Journal of Human and Behavioral Science, 5(2), 73-78.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd Ed.). New York: Harper: and Row Publications.