ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาและ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้มาจากสูตรของ Taro Yamane ที่ระดับความคลาดเคลื่อนในการสุ่ม 0.05 จำนวน 320 คน จากนั้นสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ตามสัดส่วนจำนวนผู้บริหารและครู ได้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 38 คน และครู จำนวน 282 คน รวม 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับมีความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า
- ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีการปฏิบัติการมากที่สุด คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ( =4.73,S.D.=0.34) รองลงมาคือ ด้านการจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมวิชาการ ( =4.65,S.D.=0.45) ส่วนด้านที่มีการปฏิบัติการต่ำที่สุด คือ ด้านการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ( =4.57,S.D.=0.48)
- การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีการปฏิบัติการ
มากที่สุด คือ ด้านการเป็นบุคคลที่รอบรู้ ( =4.67, S.D.=0.34) รองลงมาคือ ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน( =4.64, S.D.=0.39) ส่วนด้านที่มีการปฏิบัติการต่ำที่สุด คือ ด้านการเรียนรู้เป็นทีม ( =4.57, S.D.=0.44) - ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันในทิศทางบวกในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License
References
ชัชพล ธรรมมา. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ไชยา ภาวะบุตร. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วรรณา เฟื่องฟู. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นาทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปี 2566. ขอนแก่น: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการ
ยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สุกฤตา วัฒนเกษมสกุล. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นาทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลาเขต 3. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สุชาดา รักอก. (2565). แนวทางการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัย. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุชาติ สืบทอง. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นาทางวิชาการของผู้บริหารกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
Krug, R.E. (1992). Leadership and performance beyond expectations. New York: Free Press.
Senge, P. M. (1990). The fifth discipline: the art and practice of the learning organization. New York: Doubleday.
Yamane, Taro. (1973). Statistics. An introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper And Row Publication.