ศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของนักท่องเที่ยว: กรณีศึกษา อำเภอละงู จังหวัดสตูล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเชิงนิเวศและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจรับบริการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของนักท่องเที่ยว การศึกษาโดยสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interviews) นักท่องเที่ยวเชิงนิเวศ พบว่า นักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่มีอายุประมาณ 25 – 45 ปี มีการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป อยู่ในกลุ่มชนชั้นกลางของสังคมเป็นพนักงานบริษัทเอกชน สถานภาพโสด อาศัยอยู่ตามลำพัง ใช้เวลาว่างไปกับการเดินห้างสรรพสินค้าดูภาพยนตร์ เล่นอินเตอร์เน็ตถ้าหากมีวันหยุด ตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป จะไปพักผ่อนต่างจังหวัด และมีการค้นหาข้อมูลการท่องเที่ยวจากอินเตอร์เน็ต และสอบถามเพื่อน ๆ ที่เคยไปในแหล่งท่องเที่ยวนั้นมาแล้ว ส่วนพฤติกรรมการท่องเที่ยวก่อนการท่องเที่ยว มีการหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต และสอบถามเพื่อนๆ และระหว่างการท่องเที่ยวจะชอบถ่ายภาพเป็นสัญลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยว โดยไม่สนใจศึกษาธรรมชาติ และหลังการท่องเที่ยว จะบอกเล่าประสบการณ์ให้กับคนใกล้ชิดฟัง และวางแผนสำหรับท่องเที่ยวครั้งต่อไป โดยแนวโน้มจะไปแหล่งท่องเที่ยวเดิม เนื่องจากเกิดจากความประทับใจในการบริการของผู้ประกอบการท่องเที่ยว
แนวทางส่งเสริม ควรมีการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมกับชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน รวมถึงการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยว เส้นทางกิจกรรม การปรับปรุงภูมิทัศน์ และการให้ข้อมูลการท่องเที่ยวควบคู่กับการให้ความรู้ด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เพื่อให้เกิดจิตสำนึกในการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่นจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชน
Article Details
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License