การศึกษาสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีมของนิสิตปริญญาโท สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีมของนิสิตปริญญาโท สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 4 ด้าน คือ 1) การมีส่วนร่วมในการทำงาน
2) การปรับตัวในการทำงาน 3) ภาวะผู้นำในการทำงาน และ 4) แรงจูงใจในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ นิสิตปริญญาโท สาขาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 21 คน คัดเลือกแบบเจาะจง ใช้เกณฑ์การคัดเลือกจากผู้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมอาสาส่งเสริมประสบการณ์วิชาชีพครู เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีมของนิสิตปริญญาโท สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภาพรวมของแต่ละด้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 อยู่ในระดับมากที่สุด สมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีมของนิสิตปริญญาโท สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคามในแต่ละด้านมีดังนี้ การมีส่วนร่วมในการทำงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 อยู่ในระดับมากที่สุด การปรับตัวในการทำงานมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.80 อยู่ในระดับมากที่สุด ภาวะผู้นำในการทำงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 อยู่ในระดับมากที่สุด และแรงจูงใจในการทำงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 อยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License
References
คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (2564). แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา. กรุงเทพฯ:สำนักงานเลขาธิการ คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา.
ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2564). การวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
มนตรี วงษ์สะพาน. (2563). พื้นฐานการวิจัยและการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). โครงการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช.... (หลักสูตรฐานสมรรถนะ). https://cbethailand.com/หลักสูตร-2/กรอบหลักสูตร/บทนำ
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
Carrick, O. J. (2021). Striving for Parity: Classroom Collaboration of University Ethnic Diversity Students in Ecuador. International Journal of Multicultural Education. 23(2), 1–22.
Ekimova, V., & Kokurin, A. (2015). Students’ Attitudes towards Different Team Building Methods. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 186(2), 47–55.
Ibrahim, D. S &. Rashid, A. M. (2022). Effect of Project-Based Learning Towards Collaboration among Students in the Design and Technology Subject. World Journal of Education, 12(3), 1–10.
Ioannou, A., Demetriou, S. & Mama, M. (2014). Exploring Factors Influencing Collaborative Knowledge Construction in Online Discussions: Student Facilitation and Quality of Initial Postings. American Journal of Distance Education, 28(3), 83–95.
Johnson, D. W. and Johnson, E. P. (1994). Joining Together : Group Theory and Group Skills. Englewood Cliffs : Prentice-Hall.
Lin. L., Mills, L, & Ifenthaler, D. (2016). Collaboration, Multi-Tasking and Problem Solving Performance in Shared Virtual Spaces. Journal of Computing in Higher Education, 14(4), 44–57.
Luciano, M. M. (2018). Shared Team Experiences and Team Effectiveness: Unpacking the Contingent Effects of Entrained Rhythms and Task Characteristics. Academy of Management Journal, 61(4), 20–30.
Mikkelsen, B. (2005). Methods for development work and research: A new guide for practitioners. SAGE Publications.
Nichols, N., Gaetz, S., & Phipps, D. (2015). Generating Social Change Through Community-Campus Collaboration. Journal of Higher Education Outreach and Engagement, 19(31), 7-32.
Patrick, S. K. (2022). Organizing Schools for Collaborative Learning: School Leadership and Teachers Engagement in Collaboration. Educational Administration Quarterly, 58(4), 638-673.
Sanchez, A.V., & Ruiz, M. P. (2008). Competence - Based Learning: A Proposal for the Assessment of Generic Competence. Bilbao: University of Deusto.
Tschannen-Moran, M. (2001). Collaboration and the Need for Trust. Journal of Educational Administration, 39(4), 308–310.
Yeo, J. A. C., & Tan, S. C. (2011). How Groups Learn: Implications for Collaborative Work in Science. The Asia-Pacific Education Researcher, 20(2), 31–40.