การพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาตามแนวคิดของทอร์แรนซ์ ที่มีต่อความฉลาดทางการเล่นของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ฤทัยทิพย์ โสภา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดทางการเล่น ก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาตามแนวคิดของทอร์แรนซ์และของนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบปกติ 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดทางการเล่น หลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาตามแนวคิดของทอร์แรนซ์กับนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 5 สีหรักษ์วิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง และใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลากเพื่อกำหนดห้องเรียนตัวอย่าง 2 ห้อง แบ่งเป็นนักเรียนนักเรียนกลุ่มทดลอง จำนวน 25 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุม จำนวน 25 คน ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวคิดของทอร์แรนซ์ที่มีต่อความฉลาดทางการเล่น จำนวน 8 แผน โดยมีค่าเฉลี่ยดัชนีความสอดคล้องรวมเท่ากับ 0.97 2) แบบวัดความฉลาดทางการเล่น มีค่าความเที่ยงของแบบวัดเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างของคะแนนค่าเฉลี่ยด้วยค่า “ที”


ผลการวิจัยพบว่า


1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดทางการเล่นของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังการได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวคิดของทอร์แรนซ์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดทางการเล่นของนักเรียนกลุ่มควบคุมหลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบปกติไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดทางการเล่นของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


          สรุปผลการวิจัย การพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาตามแนวคิดของทอร์แรนซ์ส่งผลต่อความฉลาดทางการเล่นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการเด็กและเยาวชน. (2561). รายงานการพัฒนาเด็กและเยาวชน ประจำปี 2561 (รายงานสถานการณ์). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จุฑารัตน์ หลีสวัสดิ์. (2558). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบสื่อธรรมชาติ. โรงเรียนบ้านทุ่งคา: ลำปาง.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2558). “ทักษะพื้นฐานการเคลื่อนไหวกับการพัฒนาสมอง”. วารสารสุขศึกษาพลศึกษาและสันทนาการ, 41(1), 5-12.

ชัชชัย โกมารทัต และคณะ. (2549). การพัฒนาเครื่องมือวัดความฉลาดในการเคลื่อนไหวร่างกายหรือความฉลาดในการเล่น : สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญณิสา ส่งแสง. (2559). ทำไมการศึกษาไทยจึงพัฒนาช้า. http://school8.education.police.go.th/technical/technical05.html

มานินทร์ เจริญลาภ. (2558). พัฒนาสมองซีกขวา เพื่อสร้างสรรค์สื่อการสอนใหม่ๆ ให้ทันใจ ถูกใจนักศึกษายุค Gen ME. กรุงเทพฯ: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ส่งศรี พุทธเกิด. (2561). ผลของการเล่นในสนามเด็กเล่น BBL ที่มีต่อสมรรถภาพทางกายและความฉลาดทางการเคลื่อนไหวในนักเรียนระดับประถมศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2563). การพัฒนาคุณภาพการศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ: กรุงเทพฯ.

สุดาพัทธ์ เลิศพรกุลรัตน์. (2558). ผลของการคัดเลือกผู้เล่นโดยใช้คะแนนความฉลาดทางการเล่นที่มีต่อการพัฒนาทักษะกีฬาแบดมินตัน ขั้นพื้นฐานในเด็กหญิงอายุ12 ปี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรรถพล มณีแสง และชัชชัย โกมารทัต. (2559). ผลของการคัดเลือกผู้เล่นโดยใช้คะแนนความฉลาดในการเล่นที่มีต่อการพัฒนาทักษะกีฬาฟตุบอลในนักเรียนชายอายุ 12 ปี. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 17(2), 27-41.

อารี พันธุ์มณี. (2557). ฝึกให้คิดเป็น คิดให้สร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Brualdi Timmins, and Amy C. (2019). Multiple Intelligences: Gardner's Theory," Practical Assessment, Journal Research and Evaluation, 5,(10).

Wibowo, R., Nugraha, E., & Sultoni, K. (2018). Fundamental Movement Skills and Game Performance in Invasion Game Activities. In 2nd International Conference on Sports Science, Health and Physical Education (Vol. 1, pp. 390-395).

Torrance, E.P. (1965). Rewarding creative behavior. Englewood Cliffs,NJ:Prentice Hall.

Kurniawan, W., Pramono, H., & Rumini, R. (2020). Effects of Intelligence Quotient, Emotional Quotient, and Motor Educability on Players Ability to Tact in Soccer Games. Journal of Physical Education and Sports, 9(1), 44–49.