การวิจัยเชิงปฏิบัติการพัฒนาการปฏิบัติงานสารบรรณของครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ สุราษฎร์ธานีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร
คำสำคัญ:
งานสารบรรณ, การพัฒนาครู, การวิจัยเชิงปฏิบัติการบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการปฏิบัติงานสารบรรณของครู 2) เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานสารบรรณของครู และ 3) เพื่อประเมินผลการพัฒนาการปฏิบัติงานสารบรรณของครู โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุราษฎร์ธานี ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของเคมมิสและแม็คแทกการ์ท แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกต และการสะท้อนผล ดำเนินการ 2 วงรอบ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้ปฏิบัติหน้าที่งานสารบรรณ จำนวน 24 คน มีผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบเครื่องมือจำนวน 5 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพปัญหาการปฏิบัติงานสารบรรณของครู 2) แบบนิเทศติดตามผลการปฏิบัติงานสารบรรณ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ 4) แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงานสารบรรณ 5) แบบประเมินความพึงพอใจการประชุมเชิงปฏิบัติการ และ 6) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานสารบรรณของครู ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคําถามและวัตถุประสงค์ เท่ากับ 1.0 ทุกแบบสอบถาม และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามสภาพปัญหาการปฏิบัติงานสารบรรณของครูและแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานสารบรรณได้เท่ากับ 0.94 และ 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัญหาการปฏิบัติงานสารบรรณของครู มีปัญหาอยู่ในระดับมาก โดยมีปัญหามากที่สุดในเรื่อง การรับหนังสือราชการ รองลงมาคือ การจัดทำหนังสือราช การทำลายหนังสือราชการ การยืมหนังสือราชการ การส่งหนังสือราชการ และการเก็บรักษาหนังสือราชการ 2) การพัฒนาการปฏิบัติงานสารบรรณของครู ใช้วิธีการประชุมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศติดตาม 3) ผลการประเมินการพัฒนาการปฏิบัติงานสารบรรณของครู พบว่า ผลการทดสอบความรู้เกี่ยวกับงานสารบรรณหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการสูงกว่าก่อนการประชุม ผลการประเมินทักษะการปฏิบัติงานสารบรรณของครู โดยภาพรวม อยู่ในระดับ มีทักษะมาก และผลการประเมินความพึงพอใจของครูผู้ปฏิบัติงานสารบรรณ มีความพึงพอใจต่อการพัฒนาการปฏิบัติงานสารบรรณภาพรวม อยู่ในระดับมาก
References
ทัศนีย์ ทินหม่วย. (2562). การศึกษาทัศนคติที่มีต่อการให้บริการระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของบุคลากรสายสนับสนุน. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
นิภาพร ทัดเทียม และกชกร เจตินัย. (2559). การพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศระบบงานธุรการด้านงานสารบรรณกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุราษฎร์ธานี. (2564). แผนปฏิบัติราชการประจำปีพุทธศักราช 2564 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุราษฎร์ธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร.รายงานแผนปฏิบัติราชการประจำปีพุทธศักราช 2564.
วริยา เย็นเปิง และศิริพร เพ็ชรน้อย. (2563). การพัฒนาระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษากองคลังทหารช่าง. กรมการทหารช่าง ค่ายภาณุรังษี.
วโรดม ทิมบำรุง. (2564). การพัฒนาครูในการดำเนินงานองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ศักดิ์นรินทร์ เพ็ญจำรัส และอมลวรรณ วีระธรรมโม. (2563). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานระบบงานสารบรรณภายใต้ค่านิยมร่วมของบุคลากร มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. วารสารการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 11, 1122-1130.
ศิริลักษณ์ หวังชอบและคณะ. (2563). ประสิทธิผลการให้บริการของระบบสารบรรณอิเล็คทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
สุจิตรัตน์ ภูศรีฤทธิ์. (2561). แนวทางการพัฒนาการแก้ไขปัญหาการบริการงานเอกสารของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สุธาสินี คำสนอง และคณะ. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานสารบรรณของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์,14(2), 31- 41.
สุพิชฌาย์ ศาสตร์สมัย. (2558). การบริหารงานธุรการภายในภาควิชาเวชศาสตร์สังคมและสิ่งแวดล้อม.https://hdl.handle.net/20.500.14594/38754
สุวิมล ว่องวานิช. (2553). การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อมรรัตน์ เกษตรธนานุกูล. (2558). การบริหารงานธุรการโรงเรียน มัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาจังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อาศยา โชติพานิช. (2555). เทคนิคการให้บริการ. จากwww.opdc.dgr.go.th/dgr51_1.doc.
Kermis, S and Mc Taggart, R. (1988). The Action Research Planner. Victoria: Deakin University Press
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารทัศนมิติทางการศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.