การพัฒนาการอ่านออกเสียงภาษาจีนโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของฮันเตอร์ร่วมกับบัตรคำและแบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ
คำสำคัญ:
การเรียนรู้ของฮันเตอร์, ทักษะการอ่านออกเสียงภาษาจีน, บัตรคำ, แบบฝึกทักษะบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบผลพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาจีนก่อนและหลังกิจกรรมการเรียนรู้ของฮันเตอร์ร่วมกับบัตรคำและแบบฝึกทักษะ 2) สำรวจความพึงพอใจกิจกรรมการเรียนรู้ของฮันเตอร์ร่วมกับบัตรคำและแบบฝึกทักษะ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 14 ห้องเรียน โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ ภาคเรียนที่ 1/2566 รวมทั้งสิ้น 505 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของฮันเตอร์ 2) บัตรคำพยัญชนะและสระ 3) แบบฝึกทักษะ 4) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน 5) แบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การพัฒนาการอ่านออกเสียงภาษาจีนโดยใช้รูปแบบ โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ ก่อนเรียน (M=6.38, SD=4.89) และหลังเรียน (M=19.83, SD=2.20) 2) ความพึงพอใจของการพัฒนาการอ่านออกเสียงภาษาจีนโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของฮันเตอร์ร่วมกับบัตรคำและแบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/11 โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (M=4.05, SD=0.76) สรุปได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เป็นการพัฒนาการอ่านออกเสียงภาษาจีนโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของฮันเตอร์ร่วมกับบัตรคำและแบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน วัฒโนทัยพายัพ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 และความพึงพอใจของการพัฒนาการอ่านออกเสียงภาษาจีนโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของฮันเตอร์ร่วมกับบัตรคำและแบบฝึกทักษะนั้น โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก
References
ขนิษฐา บุนนาค. (2562). บัตรคำ(Flashcard). [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2566 จาก https://www.youngciety.com
ขวัญจิรา สาใจ. (2564). การพัฒนาการอ่านประสมคำสัทอักษรภาษาจีนจากการใช้บัตรคำศัพท์ไม้บรรทัดพินอิน. โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์.
จิตติมา ชูพันธุ์, พัชรินทร์ ฆังฆะ, และอาคม ลักษณะสกุล. (2562). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน ภาษาอังกฤษเพื่อ การทำงานของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า. วิทยาลัย เทคโนโลยีอุตสาหกรรมและ การจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
ชนากานต์ ขำดำรงเกียรติ, ชมพูนุท เมฆเมืองทอง, และสุรกานต์ จังหาร. (2566). การพัฒนาทักษะการอ่านตัวพินอิน ภาษาจีนโดยใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ของฮันเตอร์ประกอบกับแบบฝึกทักษะ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 15(3): 1 -14.
นิจพร จันทรดี. (2558). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาจีนเพื่อความเข้าใจด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ของฮันเตอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารช่อพะยอม, 26 (1): 1 – 11.
นุชจรีย์ สีแก้ว. (2563). การพัฒนาการอ่านออกเสียงพยัญชนะภาษาจีนโดยใช้บัตรคำพยัญชนะสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทคบาล 2 วัดทุ่งสวน จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารอักษราพิบูล,1 (1): 1 - 12.
บุญชม ศรีสะอาด. (2541). การพัฒนาการสอน. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่9). กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น.
ภานุกรณ์ จันทร์สว่าง. (2561). แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงพินอินสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน (ค.บ.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. การประชุมวิชาการระดับนานาชาติราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่5). กรุงเทพฯ : สุวีริยาส์น.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2545). เทคนิคการจัดการเรียนการสอนและการนิเทศ. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วราภรณ์ อาจคำ. (2554) การพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ วิชาภาษาอังกฤษ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง วัฒนธรรมที่น่าสนใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 โดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนของฮันเตอร์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วราภรณ์ จันดำ. (2562). การพัฒนากิจกรรมการรู้วิชาภาษาจีนด้านทักษะการอ่านตัวพินอินโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ ของฮันเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณทิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารทัศนมิติทางการศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.