ความสัมพันธระหว่างความพึงพอใจกับผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ , ผลลัพธ์การเรียนรู้ , นักศึกษาครุศาสตรบัณฑิตบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจกับผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจกับผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต และ 3) ศึกษาปัญหาอุปสรรคของโครงการ เก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด คือ นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต จำนวน 738 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .981 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนการสอนนอกเวลาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลลัพธ์การเรียนรู้ตามหลักสูตรกลางของโครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต พบว่าภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกหลักสูตร ยกเว้นหลักสูตรกำกับลูกเสือ BTC/ATC และหลักสูตรติวภาษาอังกฤษตามมาตรฐาน TOELC ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 อยู่ในระดับปานกลาง 2) ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจกับผลลัพธ์การเรียนรู้ พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกขนาดปานกลาง ยกเว้นหลักสูตรกำกับลูกเสือ BTC/ATC และหลักสูตรการสอนโรงเรียนวิถีพุทธ มีความสัมพันธ์ทางบวกขนาดต่ำ และ 3) ปัญหาอุปสรรคที่พบ ได้แก่ การสแกนชื่อเข้าหอพัก เครื่องกรองน้ำและที่จอดรถจักรยานยนต์ไม่เพียงพอ สัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่เสถียร ความเหนื่อยล้าจากการเรียน เวลาสำหรับพักผ่อนและความสุขในการใช้ชีวิตในหอพักของนักศึกษา
References
กฤตพร ห้าวเจริญ และสาธิดา สกุลรัตนกุลชัย. (2555). ศิลปะและคุณภาพชีวิตของนักศึกษมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรณีศึกษานักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง คณะศิลปกรรมศาสตร์และคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน. Journal of Architectural/Planning Research and Studies, 5(2), 42-52.
กฤติธัช อันชื่น. (2557). คุณภาพชีวิตชองนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. รายงานวิจัยสถาบัน, นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
กำจัด สุตโต. (2553). การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนสังกัดเทศบาล จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
ขวัญนภา อุณหกานต์. (2553). การประเมินโครงการคุณธรรมนำความรู้สู่ความดีของโรงเรียนต้นแบบคุณธรรมนำความรู้สู่ความดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
จรัสศรี เพ็ชรคง. (2562). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี จักรีรัช. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฮีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 12(3), 199-211.
จารุมาณ แสงสว่าง และพวงเพชร ราชประโคน. (2562). การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. รายงานวิจัยสถาบัน. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2557). การพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: วีพรินท์.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. นนทบุรี: ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์ โปรเกรสซิฟ.
นันท์ณภัส ถิรสิริเมธีกุล และไตรรัตน์ จารุทัศน์. (2564). สภาพการอยู่อาศัยของนิสิตจุฬาฯที่อยู่หอพักโดยรอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วาสารสาระศาสตร์, 4(1), 27-38.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.
พระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. 2558. (2558, 22 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอนที่ 32ก.
พัฒนา พรหมณี ยุพิน พิทยาวัฒนชัย และจีระศักดิ์ ทัพผา. (2563). แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจและการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจในงาน. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 26(1), 59-66.
พิชชากร จันทา, ทศพล สุรนัคครินทร์ และพิชญา ภาสิริเดชกุล. (2562). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษในชั้นเรียนของนิสิตสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสาขาวิชาภาษาอังกฤษมหาวิทยาลัยนเรศวร, วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 8(1), 57-72.
พีระนันท์ จีระยิ่งมงคล, ศิริกุล การุณเจริญพาณิชย์, สุภัทรา สีเสน่ห์ และตริตาภรณ์ สร้อยสังวาล. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์การเรียนรู้ตลอดหลักสูตรตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ สาขาพยาบาลศาสตร์ คุณภาพของนักศึกษาปีสุดท้ายและคุณภาพบัณฑิตหลังสำเร็จการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฮีสเทิร์นเอเชีย, 12(3), 90-102.
เพ็ญศรี จันทร์อินทร์. (2553). แนวทางการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. สักทอง วารสารการวิจัย, 16(2), 47-60.
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. (2562, 21 กรกฎาคม). ประกาศของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เรื่อง แนวปฏิบัติว่าด้วยการลงโทษนักศึกษาหอพัก. ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
รังสรรค์ เกิดศรี. (2565). รูปแบบการบริหารกิจกรรมลูกเสือเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. การบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เรณุมาศ มาอุ่น. (2559). การจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 9(2), 169-176.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถาตา พับลิเคชั่น.
ศันศนี โคตรชมพู เชาว์ อินใย และจุฑามาส ศรีจำนงค์. (2559). โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภูเขต 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(4), 308-323.
ศิวพร สุวรรณมณี. (2560). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษธุรกิจของนักศึกษาไทย: กรณีศึกษารายวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจพื้นฐานในระดับมหาวิทยาลัย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 37(2), 289-308.
ศุภฤกษ์ ศิโรทศ. (2561). แนวทางการบริหารงานกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.สายฟ้า หาสีสุข และสุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2563). การพัฒนาแนวทางการบริหารกิจกรรมลูกเสือเนตรนารีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 10(1), 426-437.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2557 และแนวทางการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). ยุทธศาสตร์การพัฒนานิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ NQF ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
สุจิตรา สมวาส. (2558). การวิเคราะห์ปัจจัยจำแนกการตัดสินใจเลือกหอกักภายนอกและหอพักภายในมหาวิทยาลัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. วารสารบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏลัยเชียงราย, 8(18), 250-256.
สุชาดา สุดจิตร. (2562). คุณลักษณะของอาจารย์ผู้สอนตามความคิดเห็นของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหัดภูเก็ต. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลเกริก, 37(1), 146-156.
สมบัติ ชัยวณิชย์. (2563). ปัญหาในการลงโทษให้เหมาะสมกับบุคคล. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(9), 278-295.
แสงเดือน บุญแย้ม และกิติพงษ์ ลือนาม. (2561). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. วารสารวิชาการ, 12(3), 12-18.
Bloom, B.S. (1964). Taxonomy of Education Objectives, Handbook 1: Cognitive Domain. New York: David Mekey.
Collopy, K.T. (2012). Are you under stress in EMS? Understanding the slippery slope of burnout and PTS.D. Continuing Education, (October): 47-56.
Wu, W. (2010). Student on college student’s learning burnout. Asian Social Science, 6(3): 132-134.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารทัศนมิติทางการศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.