มโนทัศน์ทางเลือกเรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต

ผู้แต่ง

  • นิธิศ ธงภักดิ์ โรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต

คำสำคัญ:

มโนทัศน์ทางเลือก, แบบทดสอบสำรวจมโนทัศน์, อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบสำรวจมโนทัศน์เรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 2) สำรวจมโนทัศน์เรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี และ 3) รวบรวมคำตอบที่ผิดและมโนทัศน์ทางเลือก เรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 48 คน โดยใช้แบบทดสอบสำรวจมโนทัศน์เรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ที่มีลักษณะเป็นข้อสอบแบบเขียนคำตอบ การวาดภาพแบบจำลอง การแสดงวิธีการคำนวณ และแบบตอบสั้น ประกอบด้วยมโนทัศน์ 3 มโนทัศน์ ได้แก่ ความหมายและการคำนวณอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี แนวคิดเกี่ยวกับอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีและปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบทดสอบสำรวจมโนทัศน์เรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี มีค่าดัชนีความสอดคล้อง) ของข้อสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้ ตั้งแต่ 0.60 – 1.00 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าข้อสอบที่สร้างขึ้นทุกข้อมีความตรงตามเนื้อหา 2) ผลการสำรวจมโนทัศน์เรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจมโนทัศน์ คิดเป็นร้อยละ 41.67 ซึ่งใกล้เคียงกับนักเรียนที่มีมโนทัศน์ทางเลือก ร้อยละ 40.28 รองลงมาคือนักเรียนมีความเข้าใจมโนทัศน์ถูกต้องบางส่วน ร้อยละ 11.11 และนักเรียนร้อยละ 6.94 ไม่มีมโนทัศน์ เรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี โดยเนื้อหาที่นักเรียนมีความเข้าใจมโนทัศน์มากที่สุด คือ ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี (ความเข้มข้น พื้นที่ผิว อุณหภูมิและตัวเร่งปฏิกิริยา คิดเป็นร้อยละ 47.92 สำหรับเนื้อหาที่นักเรียนมีมโนทัศน์ทางเลือกมากที่สุดคือ ความหมายและการคำนวณอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ร้อยละ 43.75

References

ขวัญกมล ใต้สำโรง. (2564). การพัฒนาแบบสอบวินิจฉัยสามระดับในวิชาเคมีที่มีระดับความมั่นใจแตกต่างกัน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชาตรี ฝ่ายคำตา. (2551). แนวคิดทางเลือกของนักเรียนในวิชาเคมี. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี, 19(2):10-28.

ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย และคณะ. (2560). เคมี1 12/e. กรุงเทพฯ: แมคกรอฮิล.

นิธิศ ธงภักดิ์, วารุณี ลัภนโชคดี และพงศ์ประพันธ์ พงษ์โสภณ. (2566). การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ทางเลือกแบบเลือกตอบหลายตัวเลือก เรื่องอะตอมและตารางธาตุสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารร้อยแก่นสาร, 8(10), 464-481.

วัชราภรณ์ ชาญธัญญกรรม และน้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์. (2565) การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนแบบเลือกตอบสี่ระดับวิชาเคมี เรื่องปฏิกิริยาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินทางการศึกษา, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศิริชัย กาญจนวสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

สุรเดช อนันตสวัสดิ์. (2561). การพัฒนาระบบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาเคมีโดยใช้แบบสอบวินิจฉัยสามระดับร่วมกับการสะท้อนข้อมูลย้อนกลับด้วยคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวนิตย์ บุญเพ็ง, เอกรัตน์ ทานาค และ อภิสิฏฐ์ ศงสะเสน. (2558). การพัฒนาแนวคิดเรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ตัวแทนความคิดที่หลากหลายร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 53: สาขาศึกษาศาสตร์, สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ, สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 53. (หน้า 113-120). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

Haidar, Abdullateef H., and Michael R. Abraham. (1991). A comparison of applied and theoretical knowledge of concepts based on the particulate nature of matter. Journal of Research in Science Teaching. 28(10), 919-938.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-01