ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ จังหวัดยะลา ขณะฝึกทักษะประสบการณ์วิชาชีพครั้งแรก

ผู้แต่ง

  • สุนีย์ เครานวล มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • เจตน์วิชยุตม์ บริรักษ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
  • อนงค์ภัทร์ ประสิทธิ์ภัทรเวช มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

คำสำคัญ:

ความเครียด, การจัดการความเครียด, นักศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความเครียดและการจัดการความเครียด และ 2) เพื่อสะท้อนความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ จังหวัดยะลา ขณะฝึกทักษะประสบการณ์วิชาชีพครั้งแรก ชั้นปีที่ 2 จำนวน 16 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า ระดับความเครียดของกลุ่มเป้าหมายในระดับมาก คือ อ่านลายมือแพทย์และพี่พยาบาลไม่เข้าใจ กลัวการติดเชื้อจากผู้ป่วย ต้องเตรียมความพร้อมอย่างมาก ผลที่เกิดจากความเครียด คือ เหนื่อยล้า ง่วงนอน อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ส่วนการจัดการความเครียด ที่ใช้ในระดับมาก คือ ศึกษาเรียนรู้ในสถานการณ์นั้นอย่างตั้งใจ คิดว่าเป็นโอกาสที่ได้ช่วยเหลือผู้เจ็บป่วย และวิธีจัดการด้านอารมณ์ในระดับมาก คือ ปรึกษาพ่อ แม่ ผู้ปกครอง เพื่อนสนิท ส่วนผลการสัมภาษณ์เชิงลึกนักศึกษาสะท้อนความเครียดในการฝึกทักษะ 3 ลักษณะ คือ 1) เหนื่อยล้า 2) บริหารเวลาลำบาก 3) พักผ่อนไม่เพียงพอ และสะท้อนการจัดการความเครียดใน 4 ลักษณะ คือ 1) เพื่อนช่วยเพื่อน 2) ปรึกษาพ่อแม่ 3) เตรียมความพร้อมก่อนฝึก 4) ดูหนัง ฟังเพลง สรุปผลการศึกษาครั้งนี้ผู้รับผิดชอบในหลักสูตรควรออกแบบการเรียนการสอน วางแผนการช่วยเหลือนักศึกษา เพื่อไม่ให้เหนื่อยล้า เครียดมากเกินไป

References

กฤตพัทธ์ ฝึกฝน, เปรมฤดี ศรีวิชัย, สุรางคนา ไชยรินคำ และปภัชญา ธัญปานสิน. (2561). ความเครียดและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของนักศึกษาพยาบาลในการขึ้นฝึกปฏิบัติทางการพยาบาลครั้งแรกบนหอผู้ป่วย. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 19(1), 161-168.

จิราภรณ์ สรรพวีรวงศ์, มัชฌิมา ดำมี, จันทร์จิรา นิ่มสุวรรณ, ชุติมา หมัดอะดัม, ศุภารัตน์ ละเอียดการ และสุชาวดี โสภณ. (2559). ความเครียด การจัดการความเครียด และความต้องการความช่วยเหลือของนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 9(3), 36-50.

จันทิมา ช่วยชุม, อรุณรัตน์ โยธินวัฒนบำรุง, ยุพิน หมื่นทิพย์, นันท์ณภัส สารมาศ และมนันชญา จิตตรัตน์. (2563).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์บัณฑิตระหว่างการฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 1.วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(5), 293-308.

ชุติกาญจน์ แซ่ตั้น และศศิธร คำพันธ์. (2557). ความเครียดและการเผชิญความเครียดของนักศึกษาพยาบาลในการฝึกภาคปฏิบัติวิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 1. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 30(3), 54-63.

ฐมาพร เชี่ยวชาญ และอภิฤดี พาผล. (2564). ความเครียดในการขึ้นฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาพยาบาล.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 15(1), 21-28.

มาลีวัล เลิศสาครศิริ. (2558). ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาลขณะฝึกปฏิบัติงานห้องคลอด. วารสารเกื้อการุณย์, 22(1), 7-16.

วิสุทธิ์ โนจิตต์, นภัสสร ยอดทองดี, วงเดือน เล็กสง่า และปารวีร์ มั่นฟัก. (2563). ปัจจัยทำนายความเครียดและวิธีการจัดการความเครียดของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 10(1), 118-128.

Akhu-Zaheya ML, Shaban AI, Khater AW. (2015). Nursing students’ perceived stress and influences in clinical performance. International Journal of Advanced Nursing Studies, 4(2), 44-48.

Alsaqri HS. (2017). Stressors and coping strategies of the Saudi nursing students in the clinical training: A Cross-Sectional Study. Education Research International. 1-9. Doi.org/10.1155/2017/4018470.

Khater A. Wejdam, Akhu-Zaheya M. Laila and Shaban A. Insaf. (2014). Sources of stress and coping behaviors in clinical practice among Baccalaureate nursing students. International Journal of Humanities and Social Science, 4(6), 194-203.

Leodoro J. Labrague. (2013). Stress, stressors, and stress responses of student nurses in a government nursing school. Health Science Journal, 7(4), 424-35.

Mazalov´a L, Gurkova´ E & Sturekov´a L. (2022). Nursing students’ perceived stress and clinical learning experience. Nurse Education in Practice, [Internet]. 2023. [Cited in 1 July 2023].

Available from https://doi.org/10.1016/j.nepr.2022.103457 Polit DF. and Hungler BP. (1999). Nursing research principles and methods (6th ed). Philadelphia: Lippincott.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-27