การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพแบบบูรณาการของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

อิงอร ลิ้มวัฒนาถาวรกุล
นวัสนันท์ วงศ์ประสิทธิ์
ลักษณาพร คำดี

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาความเป็นอยู่ปัจจัยสำคัญ พัฒนาและประเมินรูปแบบการดูแลสุขภาพแบบบูรณาการของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่างวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 270 คน เลือกแบบสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถาม เท่ากับ 0.99 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามสภาพปัญหาความเป็นอยู่และปัจจัยสำคัญ เท่ากับ 0.88 และ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ กลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ ใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งมีโครงสร้าง ได้แก่ บุคลากรทางสาธารณสุข ผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้สูงอายุ จำนวน 39 คน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการวิจัย 1) สภาพปัญหาความเป็นอยู่ โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง ด้านการสนับสนุนการจัดการตนเองสูงสุด  (gif.latex?x\bar{} = 3.53, S.D.= 0.75) รองลงมาด้านระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (gif.latex?x\bar{} = 3.49, S.D.= 0.82)  และปัจจัยที่มีความสำคัญ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ด้านสมรรถนะของผู้ดูแลสูงสุด (gif.latex?x\bar{} = 3.93, S.D.= 1.15) รองลงมาด้านสภาวะสุขภาพร่างกายและจิตใจ (gif.latex?x\bar{}= 3.81, S.D. = 0.51) 2) พัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพแบบบูรณาการของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง พบว่า การมีส่วนร่วมของชุมชน นโยบายของชุมชนและการเข้าถึงบริการ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง (r =.90, p = .01; r =.86, p = .01; r =.76 ,p = .01) และ3) ประเมินรูปแบบการดูแลสุขภาพแบบบูรณาการของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง พบว่า ด้านประโยชน์ ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ พิจารณาในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?x\bar{} = 4.57, S.D.= 0.16) 


ข้อเสนอแนะ  ควรมีการจัดศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในชุมชนทุกพื้นที่  เพื่อให้การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่ไม่มีญาติหรือในรายที่ถูกทอดทิ้ง หรือเมื่อบุตรหลานต้องไปทำงานนอกบ้าน    

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

อิงอร ลิ้มวัฒนาถาวรกุล, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

นวัสนันท์ วงศ์ประสิทธิ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

ลักษณาพร คำดี, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. (2566, 12 เมษายน). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566-2570). https://mocplan.ops.moc.go.th/th/content/category/detail/id/589/cid/3507/iid/11096

กีรติ กิจธีระวุฒิวงษ์ และนิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. (2561). ทิศทางของการพัฒนาผู้ดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36(4), 15-24.

กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ. (2560). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานของชุมชนในการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุ, วารสารสมาคมนักวิจัย, 22(1), 81-97.

คณะกรรมการบริหารงานอำเภอบางปะกง. (2561). การประกาศใช้แผนพัฒนาอำเภอบางปะกง พ.ศ. 2561 – 2564 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. https://drive.google.com/file/d/1WmXpmZ7gNynal7YxB_6_Piv3Xm2AidTF/view

ณัฐวุฒิ ชูเชื้อ. (2559). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เทศบาลตําบลสิ อําเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เพ็ญนภา มะหะหมัด. (2561). รูปแบบการจัดบริการการดูแลสุขภาพกลุ่มผู้สูงอายุติดเตียงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตําบลสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 10(2), 51-63.

ภูมิวัฒน์ พรวนสุข. (2558). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดแพร่. วารสารบัณวิทยาลัยพิชญทรรศน์, 10(1), 77-87.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2559). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ:

อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สุกัญญา ปวงนิยม นงณภัทร รุ่งเนย และอุไรรัชต์ บุญแท้. (2562). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพแบบบูรณาการสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่นำร่องต้นแบบจังหวัดเพชรบุรี. วารสารแพทย์

เขต 4 -5. 38(3), 178–196.

สุมิตรา วิชา ศิริรัตน์ ศรีภัทรางกูร เบญจพร เสาวภา ธนกฤษ หมื่นก้อนแก้ว สุภา ศรีรุ่งเรือง ณัชพันธ์ มานพ และณัฐกานต์ ตาบุตรวงศ์. (2560). การพัฒนาระบบเครือข่ายบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและกลุ่มติดเตียง กรณีศึกษาผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน และกลุ่มติดเตียงในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.ฮ่องห้า อ.แม่ทะ จ.ลำปาง. วารสาร มฉก. วิชาการ. 22(43-44), 71-85.

World Health Organization. (2022, 1 October). Aging and Heath.

https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/ageing-and-health