การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงร่วมกับการเรียนรู้แบบนำตนเอง รายวิชามนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงร่วมกับการเรียนรู้แบบนำตนเอง รายวิชามนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิงร่วมกับการเรียนรู้แบบนำตนเอง 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อบทเรียนอีเลิร์นนิงร่วมกับการเรียนรู้แบบนำตนเอง รายวิชามนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ที่ได้พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 และลงทะเบียนเรียนรายวิชามนุษย์กับสิ่งแวดล้อม กลุ่มเรียนที่ 1 จำนวน 50 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม โดยจับสลาก 1 กลุ่มเรียน จากทั้งหมด 3 กลุ่มเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) บทเรียนอีเลิร์นนิงร่วมกับการเรียนรู้แบบนำตนเอง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่สร้างโดยผู้วิจัย สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนอีเลิร์นนิงร่วมกับการเรียนรู้แบบนำตนเองมีประสิทธิภาพ 81.76/83.20 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเรียนโดยใช้บทเรียนอีเลิร์นนิงร่วมกับการเรียนรู้แบบนำตนเองสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนอีเลิร์นนิงร่วมกับการเรียนรู้แบบนำตนเองในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.57, S.D.= 0.55)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License
References
เกวริฐา รองพล. (2565). การพัฒนาสื่อบทเรียนออนไลน์เรื่อง การออกแบบ การผลิตและการประยุกต์ใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ โดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 7(1), 1-14.
ฐาปนีย์ ธรรมเมธา. (2557). อีเลิร์นนิง: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. นนทบุรี: สหมิตรพริ้งติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง.
ณัชชา ทัดทอง และภานุวัฒน์ ศรีไชยเลิศ. (2565). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้ด้วยตนเอง รายวิชาคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบ (เพิ่มเติม) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหันคาพิทยาคม. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 16(1), 1-15.
นพดล ผู้มีจรรยา และภานุมาศ เทียมศรีรัชนีกร. (2564). การพัฒนาบทเรียนเอ็มเลิร์นนิงร่วมกับการเรียนรู้แบบนำตนเอง เรื่อง การเขียนโปรแกรมภาษาไพทอนเบื้องต้น สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วารสารครุพิบูล, 8(1), 1-13.
นิลรำไพ ภัทรนนท์ ศศิฉาย ธนะมัย และกมลรัฐ อินทรทัศน์. (2566). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิด โดยใช้แนวคิดการนำตนเองร่วมกับการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อเสริมเสร้างสมรรถนะเกษตรกรปราดเปรื่อง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(2), 439-452.
ทินกร เผ่ากันทะ และกัลยารัตน์ เมธีวีรวงศ์. (2565). แนวทางการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการศึกษาแห่งประเทศไทย, 4(2), 37-45.
มนต์ชัย เทียนทอง. (2554). การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผลิตตำราเรียนสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2547). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสนามจันทร์.
ศักดิ์คเรศ ประกอบผล. (2563). การวิเคราะห์ผู้เรียน: ลีลาการเรียนรู้. วารสารครุศาสตร์สาร, 14(2), 1-14.
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). รายงานการศึกษา เรื่อง การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learning) เพื่อรองรับการพลิกโฉมฉับพลันและวิกฤตการณ์โลก. http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER6/DRAWER041/GENERAL/DATA0000/00000749.PDF
Bloom, B. S. (1956). Taxonomy of education objective handbook I: Cognitive domain. New York: David Mackey.
Griffin, C. (1983). Curriculum Theory in Adult Lifelong Education. London: Crom Helm.
Knowles, M. (1975). Self-directed learning. New York: Association Press.