การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ภาษาญี่ปุ่น ระดับเบื้องต้น เพื่อพัฒนาทักษะการฟังและ ทักษะการพูด ตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร

Main Article Content

ปฐมาวดี ขวัญสันเทียะ
สิรินาถ จงกลกลาง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนออนไลน์ภาษาญี่ปุ่น ระดับเบื้องต้น ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  
2) เปรียบเทียบทักษะการฟัง ระดับเบื้องต้น ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จากการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ ตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร หลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) เปรียบเทียบทักษะการพูด ระดับเบื้องต้น ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จากการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ ตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร หลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนปิ่นนรินทร์วิทยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 16 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนออนไลน์ภาษาญี่ปุ่น ระดับเบื้องต้น ตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบวัดทักษะการฟังและการพูด สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า
1) ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพบทเรียนออนไลน์ภาษาญี่ปุ่น ระดับเบื้องต้น ตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.81/84.03 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรที่กำหนดไว้ 2) ทักษะการฟังของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จากการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนออนไลน์ภาษาญี่ปุ่น ระดับเบื้องต้น ตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ทักษะการพูดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จากการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนออนไลน์ภาษาญี่ปุ่น ระดับเบื้องต้น ตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ปฐมาวดี ขวัญสันเทียะ, โรงเรียนปิ่นนรินทร์วิทยา

โรงเรียนปิ่นนรินทร์วิทยา

สิรินาถ จงกลกลาง, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: ที.เอส.บี. โปรดักส์.

กิติพงษ์ ลือนาม. (2561). วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา. นครราชสีมา: ห้างหุ้นส่วนจำกัด โคราช มาร์เก็ตติ้ง แอนด์ โปรดักชั่น.

จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2554). หลักการออกแบบเว็บไซต์ทางการศึกษา: ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สยามการพิมพ์

ทักษิณา วิไลลักษณ์. (2551). ออกแบบบทเรียน. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

นิตยา สุวรรณศรี. (2554). หลักสูตรสู่การจัดการเรียนรู้. อุตรดิตถ์: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประกายพรึก จักรพันธุ์. (2552). การออกแบบภาพเคลื่อนไหวเพื่อการจำอักษรคันจิ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปรัชญนันท์ นิลสุข. (2558). ครูอาชีวะแห่งศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: แมคเอ็ดดูเคชั่น.

เพ็ญนภา ศรีษะเสือ. (2559). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่องการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ภาราดา เดชสองชั้น. (2553). การเปรียบเทียบทักษะการฟัง-พูด และเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปภาพประกอบกับการสอนโดยใช้บทบาทสมมุติ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2552). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์.

ศยามน อินสะอาด. (2561). การออกแบบบทเรียน e-learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ด ยูเคชั้น, 2561.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางต้องรู้และควรรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. http://academic.obec.go.th/images/document/1559878925_d_1.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). คู่มือการวัดและประเมินผล “ความสามารถในการอ่านและการเขียน” ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6.

http://201811231542958960.pdf (phitsanulok3.go.th)

สำนักงานส่งเสริมเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชนคุณภาพเยาวชน. (ม.ป.ป.). พัฒนาพ่อพิมพ์แม่พิมพ์ในศตวรรษที่ 21 ฟันเฟืองสู่การอภิวัฒน์การศึกษาไทย. http://seminar.qlf.or.th/Topic/30

สุรสิทธิ์ วรรณไกรโรจน์. (2550). ความหมายของบทเรียนออนไลน์ e-learning (อีเลิร์นนิ่ง). สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564 จาก http://www.uplus-solution.com/content.php?ct_id=33

อาณัติ รัตนถิรกุล. (2553). สร้างระบบ E-learning Moodle ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพ: ซีเอ็ด ยูเคชั่น.

Larsen-Freeman, D. (2000). Techniques and principles in language teaching (2nd ed.). New York: Oxford University Press.

Rahmawati, R., Sihombing, C., Ginting, E. K. B., & Arimonnaria, E. (2021). The effect of e-learning on students speaking skill progress: A case of the seventh grade at SMP Pencawan Medan. Indonesian EFL Journal, 7(1), 69-78.

Richey, R. C., Klein, J. D., & Tracey, M. W. (2011). The Instructional Design Knowledge Base: Theory, Research, and Practice. Routledge.

Zakarneh, B. M. (2018). Effectiveness of e-learning mode for teaching English language in Arab universities. International Journal of Applied Linguistics and English Literature, 7(7), 171-181.