การพัฒนาสัมมาชีพตามแนวพุทธโดยใช้ขยะรีไซเคิล ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นฐานในพื้นที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

พระมหาวรัญธรณ์ ญาณกิตฺติ
อรชร ไกรจักร์
พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อพัฒนาสัมมาชีพตามแนวพุทธของชาวบ้านโดยใช้ขยะรีไซเคิลภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นฐาน 2) เพื่อประเมินผลการพัฒนาสัมมาชีพตามแนวพุทธของชาวบ้านโดยใช้ขยะรีไซเคิลภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นฐาน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กำหนด บ้านป้อม หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพื้นที่วิจัย มีชาวบ้านเข้าร่วมวิจัย 15 คน เก็บรวบรวมข้อมูลและปฏิบัติการวิจัยตามแนวคิดของ Kurt Lewin วิเคราะห์ข้อมูลตามหลักการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยมีดังนี้


  1) ผลการพัฒนาสัมมาชีพตามแนวพุทธของชาวบ้านโดยใช้ขยะรีไซเคิลภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นฐาน พบว่า คณะวิทยากรได้สอนชาวบ้านทำกระถางปลูกผัก ชุดเฟอร์นิเจอร์จากยางรถยนต์
ส่วนชาวบ้านได้ฝึกทำกระถางปลูกผักและชุดเฟอร์นิเจอร์ด้วยตนเอง และในขณะเดียวกัน ชาวบ้านบางคนได้นำความรู้จากคณะวิทยากรไปต่อยอดด้วยการทำสิ่งประดิษฐ์จากยางรถยนต์ (ตุ๊กตา) ดังนั้น ตลอดระยะเวลาของการพัฒนาสัมมาชีพ ชาวบ้านสามารถทำชุดเฟอร์นิเจอร์ได้ 3 ชุด กระถางปลูกผัก เกือบ 20 กระถาง และสิ่งประดิษฐ์จากยางรถยนต์ (ตุ๊กตา) 2 ชิ้น 2) ผลการประเมินการพัฒนาสัมมาชีพตามแนวพุทธของชาวบ้านโดยใช้ขยะรีไซเคิลภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นฐาน พบว่า ชาวบ้านผ่านการประเมินการพัฒนาสัมมาชีพทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านสัมมาชีพ ด้านความสัมพันธ์ที่ดี ด้านสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

พระมหาวรัญธรณ์ ญาณกิตฺติ, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

อรชร ไกรจักร์ , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2561). แนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชน ปี 2562. กรุงเทพมหานคร: บริษัท บีทีเอสเพรส จำกัด.

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2559). แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ.2559 -2564). กรุงเทพฯ: บริษัท แอคทีฟพริ้ท์ จำกัด.

กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา สถาบันการพัฒนาชุมชน. (2562). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน. รายงานการศึกษา กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.

ชบาไพร ชัยหาเนตร์ และภักดี โพธิ์สิงห์. (2563). การสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารมหาจุฬาคชสาร, 11(1), 54-55.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2562). การประเมินโครงการ: แนวคิดและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์ จำกัด.

ภัทราพร เกษสังข์. (2559). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เเม่ชีกฤษณา รักษาโฉม และคณะ. (2023). แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการขับเคลื่อนชุมชนปลอดขยะวิถีพุทธภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(2), 736-737.

วรรณดี สุทธินรากร. (2562). การวิจัยเชิงคุณภาพ: การวิจัยในกระบวนทัศน์ทางเลือก. กรุงเทพมหานคร: สยามปริทัศน์.

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). เศรษฐกิจหมุนเวียน…ที่ทุกคนควรรู้. ปทุมธานี: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.

สำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2565). โครงการอยุธยาบ้านสวย เมืองสะอาด. (แผ่นพับ). ม.ป.ท.

สุทัศน์ ประทุมแก้ว และคณะ. (2562). การพัฒนาผลิตภัณฑ์และส่งเสริมสัมมาชีพของหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในจังหวัดศรีสะเกษ. รายงานการวิจัย วิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

BrandInside. (2022). ขยะพลาสติกไทย ติดอันดับ 12 ของโลก ปริมาณ 4.8 ล้านตันต่อปี หลักๆ จากความนิยม Food Delivery. [ออนไลน์]. https://brandinside.asia/plastic-pollution/.

Y. Zhang and B. M. Wildemuth. (2009). Qualitative Analysis of Content. In B. M. Wildemuth, Ed., Applications of Social Research Methods to Questions in Information and Library Science. (pp. 1-12). Libraries Unlimited.