การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้หนังสือการ์ตูนประกอบการสอน ชุดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

Main Article Content

นิลรัตน์ โคตะ
ฐพัชร์ โคตะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหนังสือการ์ตูนประกอบการสอน ชุดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) หาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้หนังสือการ์ตูนประกอบการสอน ชุดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และ 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้หนังสือการ์ตูนประกอบการสอน ชุดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนาฝายวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 21 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 12 แผน
2) หนังสือการ์ตูนประกอบการสอน ชุดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา จำนวน 12 เรื่อง ได้แก่ อริยสัจ 4
อิทธิบาท 4 เบญจศีล เบญจธรรม อบายมุข 6 ศรัทธา พุทธคุณ 3 ไตรสิกขา พรหมวิหาร 4 สังคหวัตถุ 4 ฆราวาสธรรม 4 และอกุศลมูล 3 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความยากง่าย (P) อยู่ระหว่าง 0.50-0.80 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.40-0.76 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.85 ถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ


         


ผลการวิจัยพบว่า


  1. หนังสือการ์ตูนประกอบการสอน ชุดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 87.73/80.95 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้

  1. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้หนังสือการ์ตูนประกอบการสอน ชุดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6471 แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 64.71

  2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้หนังสือการ์ตูนประกอบการสอน ชุดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 46.03ละหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 80.95 แสดงว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 34.92

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

นิลรัตน์ โคตะ, มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ

ฐพัชร์ โคตะ, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จินตนา ใบกาซูยี. (2534). แนวการจัดทำหนังสือสำหรับเด็ก. กรุงเทพ ฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

ธนบัตร อ่อนกล. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับหนังสือการ์ตูนเรื่อง รุ่งอรุณแห่งความสุข ณ สุโขทัย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

บรรพตี วงษ์พรพันธุ์. (2560). การพัฒนาหนังสือการ์ตูนประกอบเรื่องร่วมกับเทคนิคการแข่งขันแบบร่วมมือสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การวิจัยสำหรับครู. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สุรีวิยาสาส์น.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก. หน้า 3.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2536). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

โรงเรียนบ้านนาฝายวิทยา. (2565). หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านนาฝายวิทยา. ชัยภูมิ: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1, ชัยภูมิ.

ศักดิ์ชัย เกียรตินาคินทร์. (2534). การ์ตูน ศาสตร์และศิลป์แห่งจิตนาการ. ใน การส่งเสริมและพัฒนาหนังสือการ์ตูนไทย. กรุงเทพฯ : ศูนย์พัฒนาหนังสือกรมวิชาการ.

สมนึก ภัททิยธนี. (2549). การวัดผลการศึกษา. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.

สุนทรี คุณา. (2558). การศึกษาการสร้างหนังสือการ์ตูนเสริมประสบการณ์ ชุดวิถีชีวิตล้านนา สำหรับนักเรียน ภาษาไทยแบบข้ามวัฒนธรรม ระดับประถมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

อมรรัตน์ เกษมรัตนพร. (2558). การสร้างหนังสือการ์ตูนคุณธรรม สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อารี พันธ์มณี. (2546). จิตวิทยาสร้างสรรค์การเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: ใยใหมครีเอทีฟ กรุ๊ป.

อเนก รัตน์ปิยะภากรณ์. (2534). การเขียนหนังสือการ์ตูนเรื่อง. ใน การส่งเสริมและพัฒนาหนังสือการ์ตูนไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมการศาสนา.