ผลของการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบทีมร่วมกับกูเกิลคลาสรูมที่มีต่อความสามารถในการพูดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ศรันญา ตั้งนารี
มาลินี ไพบูลย์นุกูลกิจ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้การเรียนรู้แบบใช้ทีมเป็นฐานร่วมกับกูเกิลคลาสรูมที่มีต่อความสามารถในการพูดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้การเรียนรู้แบบทีมร่วมกับกูเกิลคลาสรูม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 14 คน จากโรงเรียนชุมชนบ้านกุดม่วง อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการสอน แบบทดสอบความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที่แบบไม่อิสระ (t-test for dependent)


          ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนหลังจากเรียนรู้แบบใช้ทีมเป็นฐานร่วมกับกูเกิลคลาสรูมสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้เรียนมีความคิดเห็น
ที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษแบบใช้ทีมเป็นฐานร่วมกับกูเกิลคลาสรูมในแสดงให้เห็นว่าการเรียนภาษาอังกฤษ
โดยใช้การเรียนรู้แบบใช้ทีมเป็นฐานร่วมกับกูเกิลคลาสรูมสามารถส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ศรันญา ตั้งนารี, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

มาลินี ไพบูลย์นุกูลกิจ, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

References

Anugrah, N. J., Sumardi, S., & Supriyadi, S. (2019). Integrating “Daily learn english application” to teach speaking skill in EFL classroom. Indonesian Journal of EFL and Linguistics, 4(2), 181.

Brown, H. Douglas (2004). language assessment: Principles and classroom practices. White Plains, NY: Pearson Education. 324 pp.

Harmer, J. (2007). How to teach English (second edition). ELT Journal, 62(3), 313–316.

Hazel, S. J., Heberle, N., McEwen, M.-M., & Adams, K. (2013). Team-based learning increases active engagement and enhances development of teamwork and communication skills in a first-year course for Veterinary and Animal Science undergraduates. Journal of Veterinary Medical Education, 40(4), 333–341.

Inkaew, C., & Thumawongsa, N. (2018). A study of English oral communication strategies used among Thai EFL students of different English proficiency levels: A case study of first year English major students, Srinakharinwirot University. People: International Journal of Social Sciences, 4(2), 1528–1545.

Isda, I. D., Purwati, P., & Imran, I. (2021). The effect of using blended learning model on enhancing students’ speaking skill in senior high schools. Journal of Languages and Language Teaching, 9(1), 92-98.

Ratnaningsih, A. (2019). Indonesian online news: Where does the bias go? Journal of Language and Literature, 19(02), 30–42.

Wang, T., Rajprasit, K. (2015). Identifying affirmative beliefs about English language learning: Self-perceptions of Thai learners with different language proficiency. English Language Teaching, 8(4), 1-13.

Smith, J., & Smith, A. (2018). How google classroom is transforming technology use in education. In EDULEARN18 Proceedings (pp. 6442-6445). IATED.

Whittaker, A. A. (2015). Effects of team-based learning on self-regulated online learning. International Journal of Nursing Education Scholarship, 12(1), 45–54.

Whittaker, N. (2015). Platform Souls: The Trainspotter as 20th-century Hero. Icon Books Ltd.