การพัฒนาศิลปะการแสดงโดยชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ บนวิถีเกษตร ศิลปะและวัฒนธรรม: กรณีศึกษา ชุมชนเจ็ดเสมียน จังหวัดราชบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาศิลปะการแสดงโดยชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์บนวิถีเกษตร ศิลปะและวัฒนธรรม : กรณีศึกษา ชุมชนเจ็ดเสมียน จังหวัดราชบุรี เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาศิลปะการแสดงโดยชุมชนเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์บนวิถีเกษตร ศิลปะและวัฒนธรรม ในพื้นที่จังหวัดนครปฐม ราชบุรี สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร เป็นการศึกษาบริบททุนวัฒนธรรม ทรัพยากรด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์การแสดงที่สามารถส่งเสริมการท่องเที่ยว และเพิ่มพูนรายได้และยอดขายให้กับชุมชนได้ โดยกล่าวถึงกระบวนการสร้างสรรค์การแสดงวิธีดำเนินการวิจัย มีการลงพื้นที่ทำการสัมภาษณ์เชิงลึก และประชุมกลุ่มย่อย กับผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน โรงเรียน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ นำมาออกแบบแนวคิดของการแสดง มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ สร้างสรรค์และพัฒนาการแสดงศิลปะโดยชุมชนมีส่วนร่วม อีกทั้งได้จัดให้มีการแสดงและมีการประเมินและตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะการแสดงจำนวน 3 ท่าน ผลที่ได้จากการวิจัย คือ ได้ชุดการแสดงประจำชุมชนเจ็ดเสมียน จังหวัดราชบุรี ชื่อชุด “เรือมบูชา ศาลตาปะกำ” ที่มีการสร้างสรรค์ลวดลายของเครื่องแต่งกายจากบริบทที่มีในชุมชน มีการนำเสนอสินค้า ผลิตภัณฑ์ชุมชน ประกอบด้วย กระเป๋าตานี ข้าวหลาม หัวไชโป๊ และนำเสนอบายศรี ซึ่งเป็นหนึ่งในความเชื่อของคนในชุมชนที่นำมากราบไหว้บูชาศาลตาปะกำ ทั้งนี้การแสดงที่สร้างสรรค์ขึ้น ยังนำไปเพยแพร่เป็นสื่อประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว สินค้า และวัฒนธรรม ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ยูทูป (youtube) ให้ผู้ที่ได้รับชมการแสดง รับรู้ว่าในชุมชนมีของดีอะไร มีความเชื่อประเพณีอย่างไร นำมาสู่แรงชักจูงใจ ให้เดินทางเข้ามาเที่ยวในชุมชน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License
References
กรมการท่องเที่ยวกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). คู่มือการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, กลุ่มวิชาการและมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยว. กองพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. (2548). การสำรวจสถานะองค์ความรู้และแนวทางพัฒนาทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ธนวรรษ ดอกจันทร์ สุธิดา สุวรรณทัต พัสกร สูงปานเขา มนตรี ครองระวะ และ จันจิรา เพ็งเลา. (2563). การออกแบบกิจกรรมให้เหมาะสมกับกลุ่มนักท่องเที่ยวตามช่วงวัย(Generations) โดยใช้หลักการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ชุมชนเกาะอีแท่น อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 10(1), 73-90.
ธนาภรณ์ เมทณีสดุดี. (2543). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่มีต่อการรับบริการสื่อวิดีทัศน์ : ศึกษาเฉพาะกรณี วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิชาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
ประพันธ์พงศ์ ชิณพงษ์. (2551). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. ปทุมธานี: มหาวิทยาราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ปิยวดี มากพา. (2558). การพัฒนารูปแบบการแสดงนาฏศิลป์ไทยเพื่อการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม. วารสารสถาบันวัฒนธรมมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ, (1), 36-46.
ยรรยง ศรีสม. (2553). ห่วงโซ่คุณค่า value chain ในงานโลจิสติกส์. กรุงเทพฯ: เอ็มแอนด์.
สำนักงานสถิติเศรษฐกิจและสังคม. (2557). การสำรวจพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของชาวไทย พ.ศ. 2557. สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อมรรัตน์ วงศ์เป็ง. (2552).ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวประเทศไทยของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป. RMUTT Global Business and Economics Review, 4(2), 39-57.
Laurel, B. (1991). Computer as Theater. Addison-Wesley Professional.
Porter, M. E. (2004). Competitive Advantage: Creating and Sustaining Superior Performance. New York: Simon & Schuster.