การพัฒนาคลังข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

อภิญญา พลยืน
สมประสงค์ เสนารัตน์
เบญจมาภรณ์ เสนารัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคลังข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนในจังหวัดร้อยเอ็ด ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 2,366 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเต็ม แบบเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก วิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบด้วยโปรแกรมภาษา R แพ็กเกจ mirt  ผลการวิจัย พบว่า ข้อสอบที่สร้างขึ้นจำนวน 140 ข้อ ผ่านการพิจารณาความตรงเชิงเนื้อหาของผู้เชี่ยวชาญจำนวน 139 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.60-1.00 ต้องการใช้จริง 113 ข้อ โดยการเรียงค่าดัชนีความสอดคล้องจากมากไปน้อย นำข้อสอบไปจัดเป็นฉบับ 4 ฉบับ ๆ ละ 35 ข้อ โดยมีข้อสอบร่วม จำนวน 9 ข้อ และนำผลการทดสอบมาปรับเทียบด้วยโปรแกรมภาษา R แพ็กเกจ equate  แล้วนำมาปรับเทียบด้วยวิธีโค้งลักษณะข้อสอบของ Stocking-Lord Method ได้ข้อสอบที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ จำนวน 70 ข้อ ค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเต็ม ในคลังข้อสอบ พิจารณาจากค่าความยากอยู่ระหว่าง -1.22 ถึง +2.06 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.15 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.71 ซึ่งแสดงว่าข้อสอบมีระดับความยากอยู่ในเกณฑ์ง่ายถึงยาก คลังข้อสอบสร้างขึ้นโดยใช้ฐานข้อมูลโปรแกรม PhpMyAdmin เก็บข้อมูลในรูปภาพ ตัวเลข และตัวอักษร และนำไปพัฒนาโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

อภิญญา พลยืน, มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

สมประสงค์ เสนารัตน์, มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

เบญจมาภรณ์ เสนารัตน์, มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

References

กนกกร พวงสมบัติ. (2561). การพัฒนาโปรแกรมทดสอบและประเมินวินิจฉัยทักษะการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จารุจิตร สิทธิปรุ. (2558). การพัฒนาโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ สำหรับการจัดสอบ O-NET ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

จิราพร ยายิรัมย์. (2563). การพัฒนาโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ สำหรับการจัดสอบ Pre O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

นูรมา นิสาแล๊ะ. (2563). การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยข้อบกพร่องความสามารถในการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเต็ม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สุวีริยาสาส์น.

เบญจมาภรณ์ เสนารัตน์. (2558). การพัฒนาเครื่องมือประเมินความสามารถทางการวิจัยการศึกษาของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เบญจมาภรณ์ เสนารัตน์ และสมประสงค์ เสนารัตน์. (2561). หลักการวัดและประเมินผลทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์.

วิโรจน์ ลิ่วคงสถาพร และจุฑามาส สรุปราษฎร์. (2560). ศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย: การประเมินและวิจัย. นิตยสาร สสวท, 45(205), 33.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2563). ทฤษฎีการทดสอบแนวใหม่ (MODERN TEST THEORY) (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันทดสอบทางศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน). (2565). รายงานผล O-NET ด้วยแผนที่ประเทศไทย. https://www.niets.or.th/th/catalog/view/3121. (20 มีนาคม 2565).

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ม.1 เล่ม 1. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).

สมนึก ภัททิยธนี. (2560). การวัดผลการศึกษา. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุชานาฎ คำพินันท์. (2559). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยข้อบกพร่องในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สุรชัย รักสมบัติ, ปิยะทิพย์ ประดุจพรม และกนก พานทอง. (2563). การจัดการคลังข้อสอบจำแนกตามเนื้อหาและระดับความยากของข้อสอบ โดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 26(2), 328-329.

Albano, A. D. (2016). equate: An R package for observed-score linking and equating. Journal of Statistical Software, 74(8), 1-36.

Chalmers, R. P. (2012). mirt: A multidimensional item response theory package for the R environment. Journal of statistical Software, 48(6), 1-29.

Rosseel, Y. (2012). lavaan: An R package for structural equation modeling. Journal of statistical software, 48(2), 1-36.