ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน: การวิเคราะห์อภิมานสมการโครงสร้าง

Main Article Content

ศศิธร ไกยศรี
นฤมล แสงพรหม
สมประสงค์ เสนารัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งมีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ประมาณค่าเมทริกซ์สหสัมพันธ์รวมของตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยการวิเคราะห์อภิมานสมการโครงสร้าง 3) หาขนาดอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนในระดับการศึกษา   ขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ งานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ หรืองานวิจัยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีการศึกษาเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในช่วงปี พ.ศ. 2546-2564 จำนวน 17 เล่ม โดยใช้การวิเคราะห์อภิมานสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรมภาษา R แพ็คเก็ต metaSEM และ lavaan


          ผลการวิจัย พบว่า


  1. ผลการวิเคราะห์เมทริกซ์สหสัมพันธ์รวม พบว่า ตัวแปรทั้ง 6 ตัวแปร คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ มโนภาพแห่งตน ความรู้พื้นฐานเดิม และคุณภาพการสอน มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกคู่ และทุกคู่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เป็นบวก

  2. โมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความสอดคล้องกลมกลืนกับเมทริกซ์สหสัมพันธ์รวม โดยมีค่า gif.latex?\chi&space;{^{2}}= 5.153  df = 5 P-value =0.398  CFI = 1.000 TLI = 1.000 RMSEA = 0.001 SRMR = 0.002 และตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สามารถอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ ร้อยละ 43

  3. 3. อิทธิพลของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ คือ เจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ คือ คุณภาพการสอน มโนภาพแห่งตน และความรู้พื้นฐานเดิม และตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ คือ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ศศิธร ไกยศรี, มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

นฤมล แสงพรหม, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

สมประสงค์ เสนารัตน์, มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

References

จุฬาภรณ์ อบมาลี. (2553). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชนกนาถ สมีน้อย. (2557). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของนักเรียนโรงเรียนเอกชนในจังหวัดกาฬสินธุ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ดาว จันทร์หนองสรวง. (2557). โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 27. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). การวิเคราะห์อภิมาน = META-ANALYSIS. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันทพร จิตรจำลอง. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาราชภัฏบุรีรัมย์.

ประภาพรรณ บอกสันเทียะ. (2560). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

รุ่งภรณ์ กล้ายประยงค์. (2555). การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 เฉพาะจังหวัดนนทบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิมล ประจงจิตร. (2553). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ.

ศิริพรรณ แก่นสาร์. (2555). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดศรีสะเกษ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). รายงานการสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาไทย: การวิเคราะห์อภิมาน (Meta-analysis). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำเริง บุญเรืองรัตน์. (2540). เทคนิคการวิเคราะห์ตัวแปรพหุคูณ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ต้นอ้อแกรมมี.

สุขฤกษ์ ดีโนนโพธ์. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

สุพรรษา วิทยพันธ์. (2563). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการกำกับตนเองในการเรียนรู้ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน: การวิเคราะห์อภิมาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2541). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัจฉรา บุญสุข. (2553). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

อารยา สัสนัน. (2552). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Bloom, Benjamin S. (1976). Human characteristics and school learning. New York: McGraw-Hill Book Company.

Cheung, M. W. L. (2015). “metaSEM: An R Package for Meta-Analysis using Structural Equation Modeling.” Frontiers in Psychology, 5(1521). http://doi.org/10.3389/fpsyg.2014.01521

Cheung, M. W. L., & Chang, W. (2005). Meta-analytic structural equation modeling: A two-stage approach. Psychological Methods, 10(1), 40-64.

Cook, D.J., Mulrow, C.D., and Brian Haynes, R.MD. (1997). Systematic Reviews: Synthesis of Best Evidence for Clinical Decisions. Annals of Internal Medicine, 126(5), 376-380.

Duley L. (1996). Systematic review: what can they do for you?. J R Soc Med, 89(5), 242-244.

Hunter, J.E. & Schmidt, F.L. (1990). Methods of meta-analysis: Correcting error and bias in research findings. Beverly Hills CA: Sage.

Hunter; J. E., & Schmidt, F. L. (2004). Methods of meta-analysis: Correcting error and bias in research findings. Thousand Oaks, California: Sage.

McClelland, D.C. (1953). Student Perception of Factors Influencing Acouisition of ScienceProcee Sklls in Practical Chemistry and other. New York: Appleton Century Croffs, Inc.

Viswesvaran, C., & Ones, D.S. (1995). Theory testing: combining psychometric meta - analysis and structural equations modeling. Personnel Psychology, 48(4), 865-885.

Yves Rosseel. (2012). “lavaan: An R Package for Structural Equation Modeling”. Journal of Statistical Software, 48(2), 1–36.