การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สารละลาย โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

นิธิศ ธงภักดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สารละลาย โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สารละลาย โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 43 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สารละลาย โดยใช้     วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สารละลาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test) แบบ dependent samples) ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สารละลาย โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น มีระดับความเหมาะสมขององค์ประกอบด้านต่าง ๆ ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.56 และมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81.99/80.09 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนเรื่อง สารละลาย ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เรื่องสารละลาย มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

นิธิศ ธงภักดิ์, โรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต

โรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต จังหวัดกาญจนบุรี

References

จรวย แม่นธนู. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องแรงและการเคลื่อนที่สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยรูปแบบการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E). วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 6(3), 573-584.

จิราภรณ์ คงหนองลาน. (2557). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) รายวิชาเคมีเพิ่มเติม เรื่องสารละลาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2522). เทคโนโลยีทางการศึกษา หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร:สํานักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

ทัศนา ฉันทนาภิธาน. (2540). การศึกษาแนวคิดที่คลาดเคลื่อน เรื่องโมเลกุล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์กลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาส่วนกลาง กลุ่มที่ 7. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ลัดดาวัลย์ บูรณะ และจรรยา ดาสา. (2560). แนวคิดวิทยาศาสตร์เรื่อง สารละลาย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 32(2), 9-17.

วราภรณ์ ถิรสิริ. (2533) การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กรุงเทพมหานคร . จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

สุนทร พรจำเริญ. 2543. มโนมติที่คลาดเคลื่อนเรื่องความเข้มข้นของสารละลายและการคํานวณหาปริมาณสารจากสมการเคมี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สุภาพร อินบุญนะ. 2541. มโนมติที่คลาดเคลื่อนในเรื่องกรด -เบสของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดนครศรีธรรมราช. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Dahsah, C., Sanguanruang, S., Sung-Ong, S., and Yutakom, N. (2006). Grade 10 and 11 Thai Students' Conceptions about Stoichiometry. Kasetsart Journal of Social Sciences, 27(2), 225-233.

Eisenkraft, A. (2003). Expanding the 5E model. The science teacher, 70(6), 56-59.

Krause, S., & Tasooji, A. (2007). Diagnosing students' misconceptions on solubility and saturation for understanding of phase diagrams. ASEE Annual Conference and Exposition, Conference Proceedings.

Tekin, S. et al. (2004). Can I Teach Solubility Concept Trough Using Conceptual Change Texts More Effectively?. Journal of Turkish Science Education, 1(2), 47-48.