การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางในการพัฒนารูปแบบการประเมินความสามารถด้านความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี (TPACK) สำหรับนักศึกษาครู
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการประเมินความสามารถด้านความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี(TPACK) สำหรับนักศึกษาครู 2) เพื่อศึกษาปัญหาของการประเมินความสามารถด้านความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี(TPACK) สำหรับนักศึกษาครู 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนารูปแบบการประเมินความสามารถด้านความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี(TPACK) สำหรับนักศึกษาครู กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัย ได้แก่ อาจารย์สังกัดคณะครุศาสตร์ที่สอนระดับปริญญาตรีและมีประสบการณ์ในการสอนนักศึกษาครุศาสตร์ระดับปริญญาตรีตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด จำนวน 8 คน และมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จำนวน 4 คน รวมเป็น 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบบบันทึกการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview Form) ผลการวิจัยพบว่า
- การพัฒนารูปแบบการประเมินความสามารถด้านความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี (TPACK) สำหรับนักศึกษาครูมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยที่สภาพปัจจุบันมีการประเมินความสามารถด้านเนื้อหา วิธีสอน และเทคโนโลยีแยกกัน หรือมีการประเมินที่ผนวกเฉพาะด้านเนื้อหาและวิธีสอน แต่ไม่ได้มีการประเมินในลักษณะที่ผนวกเข้าด้วยกันทั้งสามด้านอย่างชัดเจน โดยส่วนใหญ่ใช้วิธีการตรวจเอกสารและใช้การสังเกต ไม่มีเครื่องมือที่ชัดเจน
- ปัญหาที่พบในการประเมินความสามารถด้านความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี (TPACK) สำหรับนักศึกษาครู คือ 1) ในการประเมินความสามารถที่ผนวกทั้งสามด้านมีความยาก 2) ไม่มีรูปแบบของการประเมินที่ชัดเจน แบบประเมินที่สร้างขึ้น ไม่แน่ใจว่าสามารถวัดได้จริงหรือไม่ วิธีการประเมินยังไม่หลากหลายเพียงพอ และ 3) ความยุ่งยากในการประเมินรายบุคคล โดยมีการแก้ปัญหาเหล่านี้ แต่ยังไม่ชัดเจน
- รูปแบบการประเมินความสามารถด้านความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี (TPACK) ที่เหมาะสม ควรประเมินตามสภาพจริง มีเครื่องมือที่หลากหลาย ใช้รูปแบบประเมินที่กระตุ้นให้นักศึกษาครูกระตือรือร้นที่จะแสดงความสามารถด้าน TPACK และแนวทางในการพัฒนารูปแบบการประเมินความสามารถด้านความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี (TPACK) สำหรับนักศึกษาครู ควรเริ่มจากการส่งเสริมให้อาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาเข้าใจเกี่ยวกับความสามารถด้านความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี (TPACK) ก่อน พัฒนาเครื่องมือให้หลากหลาย สร้างเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจนและประเมินจากการปฏิบัติตามสภาพจริง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). เอกสารแนบท้ายประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรสี่ปี) พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ.
ซัมซูดิน มามะ. (2564). การพัฒนาแบบวัดสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพครูของนักศึกษาวิชาชีพครู. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2560). ครูและนักเรียนในยุคการศึกษาไทย 4.0. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 7(2), 14-29.
นัฐพร เกียรติบัณฑิตกุล. (2556). ผลของหลักสูตรผลิตครูที่มีต่อความรู้ด้านการออกแบบการเรียนการสอนโดยมีการรับรู้ความสามารถแห่งตนและความรู้ตามกรอบทีแพคของนักศึกษาครูเป็นตัวแปรส่งผ่าน : โมเดลพหุตัวแปรส่งผ่าน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง สาระความรู้ สมรรถนะและประสบการณ์วิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ ตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130. ตอนพิเศษ 156 ง. 43-54.
พนมนคร มีราคา. (2560). ครูต้องมีลักษณะอย่างไร...ในศตวรรษที่ 21. ศึกษาศาสตร์ มมร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 5(2), 23-35.
Koehler, M. J., Mishra, P., & Cain, W. (2013). What is technological pedagogical content knowledge (TPACK)?. Journal of education, 193(3), 13-19.
Mishra, P., & Koehler, M. J. (2006). Technological Pedagogical Content Knowledge: A framework for teacher knowledge. Teachers College Record, 108(6), 1017-1054.
Shulman, L.S. (1986). Those who understand: Knowledge growth in teaching. Educational Researcher, 15(2), 4-14.