การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์แสนสนุก

Main Article Content

สุกัญญา เบ็ญยุโส๊ะ
นิลรัตน์ โคตะ
กมลวรรณ ทศช่วย
ฐพัชร์ โคตะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมวิทยาศาสตร์แสนสนุก ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จากการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์แสนสนุก กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ คือ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดบ้านป่าระไม ตำบลขุนตัดหวาย อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลขุนตัดหวาย จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย 1) กิจกรรมวิทยาศาสตร์แสนสนุกของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 8 หน่วย 2) แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์แสนสนุกของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 32 แผน และ 3) แบบประเมินความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์แสนสนุก จำนวน 5 กิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า


  1. กิจกรรมวิทยาศาสตร์แสนสนุกของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.51/82.14 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้

  2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จากการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์แสนสนุก มีค่าเท่ากับ 0.5600 แสดงว่า เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีความก้าวหน้าทางการคิดวิเคราะห์เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.00

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

สุกัญญา เบ็ญยุโส๊ะ, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดบ้านป่าระไม

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดบ้านป่าระไม  องค์การบริหารส่วนตำบลขุนตัดหวาย

นิลรัตน์ โคตะ, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ

กมลวรรณ ทศช่วย, นักวิจัยอิสระ

นักวิจัยอิสระ

ฐพัชร์ โคตะ, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

ขนิษฐา สุยะเพี้ยง. (2560). ผลของการใช้เกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

จีรภัทร์ ถิรปัญญา. (2560). รายงานผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์แสนสนุก สําหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2. โรงเรียนบ้านต้นโชค สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3.

ฉัตรมงคล สวนกัน. (2555). พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย โดยการจัดประสบการณ์ด้วยเกมการศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 4(7), 117-127.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2546). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: เทพเนรมิตการพิมพ์.

นันธิชา ทาภักดี. (2558). การพัฒนาการจัดประสบการณ์เสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2555). วิธีวิจัยทางการศึกษา. นครปฐม: ศูนย์วิจัยและพัฒนาทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับคุณภาพการศึกษา สำหรับศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 12). นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้ง.

สมบัติ เจริญเกษ. (2556). ผลการจัดประสบการณ์แบบวิทยาศาสตร์ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 4(6), 117-128.

สุมาลี หมวดไธสง. (2554). ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และฉบับที่ 3 พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.