รูปแบบการบริหารท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในการพัฒนาระบบฐานราก อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

อนุวัฒน์ ทองแสง

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง รูปแบบการบริหารท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการพัฒนาระบบฐานราก อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1) เพื่อสำรวจทรัพยากรรูปแบบการบริหารท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการบริหารท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการพัฒนาระบบฐานราก อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้มีความรู้ความชำนาญและประสบการณ์ จำนวน 28 คนพบว่า 1) ทรัพยากรรูปแบบการบริหารท้องถิ่นในการส่งเสริมการ การส่งเสริมการท่องเที่ยวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มีข้อมูลผลิตภัณฑ์ มีทุนทางวัฒนธรรม ด้านวัตถุดิบ ภูมิปัญญาท้องถิ่นตลอดจนการมีของดีในชุมชนซึ่งถือว่าเป็นสินทรัพย์วัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าสิ่งที่ควรอนุรักษ์ ที่มีเอกลักษณ์สอดคล้องกับวิถีการใช้ชีวิตในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์เก่าและต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ 2) ปัจจัยการบริหารท้องถิ่นคือ มีกลยุทธ์ขององค์กรท้องถิ่นในการวางแผน ไม่แข่งขันกันและมีการรวมกลุ่ม มีทรัพยากรบุคคลต้องอาศัยแรงงานฝีมือปรับตัวในพัฒนาอาชีพ การแสวงหาแหล่งทุน และมีเทคโนโลยีผลิตด้วยมือมีหน่วยงานรัฐให้การสนับสนุน 3) รูปแบบการบริหารท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการพัฒนาระบบฐานราก มีส่วนร่วมที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากพื้นที่อื่น มีการพัฒนาสร้างสรรค์ด้วยทุนทางวัฒนธรรมเป็นวิถีชุมชนคนโคราชที่มีจุดเด่นของผลิตภัณฑ์เป็นเอกลักษณ์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมในพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนนำไปสู่ตลาดต่างประเทศ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

อนุวัฒน์ ทองแสง

กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีพีเอ็น.แอสเซ็ท จำกัด