การสำรวจศักยภาพของพนักงานวิทยุคมนาคม ประจำสถานีวิทยุคมนาคมสมัครเล่น ในกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน

Main Article Content

วัชระ อมศิริ

บทคัดย่อ

       กิจการวิทยุสมัครเล่น เป็นกิจการที่มีการกำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มพูนจำนวนพนักงานวิทยุสมัครเล่นไว้ใช้ในกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน โดยในปัจจุบันพบว่าประเทศไทยมีจำนวนผู้ได้รับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นทั่วประเทศสูงถึง 463,202 คน งานวิจัยนี้จึงเป็นการสำรวจศักยภาพของพนักงานวิทยุคมนาคมประจำสถานีวิทยุคมนาคมสมัครเล่น เพื่อประเมินความพร้อมในกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน โดยจัดทำเป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และ ประเมินศักยภาพของพนักงานวิทยุคมนาคมประจำสถานีวิทยุสมัครเล่นในบทบาทกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน จากผลการวิจัยจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 695 คน โดยอาศัยวิธีการกำหนดกลุ่มตัวอย่างของ Yamane โดยมีค่าคาดหวัง ความคลาดเคลื่อน 0.05 พบว่า พนักงานวิทยุคมนาคมประจำสถานีวิทยุสมัครเล่นมีอายุเฉลี่ยที่ 43.59 ปี มีสัดส่วนของผู้สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่า สูงสุดที่ร้อยละ 51.5 มีประสบการณ์ใช้งานวิทยุคมนาคมสูงสุด อยู่ในช่วง 10 ปีขึ้นไป ที่ร้อยละ 38.7 และ สัดส่วนของระดับความสามารถของศักยภาพของพนักงานวิทยุคมนาคมประจำสถานีวิทยุคมนาคมสมัครเล่นในกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน ได้แก่ 1) ทฤษฎีไฟฟ้า 2) หลักการทำงานของเครื่องรับส่งวิทยุ 3) สายอากาศ 4) สายนำสัญญาณ และ 5) โครงสร้างเสาอากาศ พบว่า มีฐานนิยมของค่าระดับความสามารถ ในระดับ เคยพบ/เคยเห็น (ระดับคะแนน 1) ในทุกหมวดวิชา ยกเว้นในหมวดวิชาสายอากาศ หัวข้อความรู้ความเข้าใจในการติดตั้งสายอากาศ และในหมวดวิชาไฟฟ้า หัวข้อความรู้ความเข้าใจในการตรวจสอบสายมีไฟโดยไม่สัมผัส และ หัวข้อความรู้ความเข้าใจการประกอบแหล่งพลังงานฉุกเฉินสำหรับเครื่องวิทยุคมนาคม ซึ่งมีฐานนิยมของค่าระดับความสามารถในระดับ ไม่เข้าใจ (ระดับคะแนน 0)

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

วัชระ อมศิริ

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี