ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาและเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพและขนาดของสถานศึกษา (2) ศึกษาและเปรียบเทียบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพและขนาดของสถานศึกษา (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา (4) ศึกษาอำนาจพยากรณ์ของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 139 คน และครู จำนวน 208 คน รวมทั้งสิ้น 347 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำแนกเป็น 2 ฉบับ คือ (1) แบบสอบถามภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าดัชนีความสอดคล้องเนื้อหา 1.00 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .32 - .72 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .96 (2) แบบสอบถามการดำเนินงานกระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา มีค่าดัชนีความสอดคล้องเนื้อหา 1.00 ค่าอำจำแนกรายข้อระหว่าง .34- .65 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า (1) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (3) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษามีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับค่อนข้างสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 (4) ตัวแปรภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนมเขต 2 มี 4 ตัวแปรได้แก่ ด้านการบริหารทรัพยากรองค์กร (X4) ด้านการวางแผนกลยุทธ์(X2) ด้านการสร้างวัฒนธรรมองค์กร (X5) ด้านการกำหนดทิศทางองค์กร (X1) โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 70 โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ .21 สามารถเขียนสมการได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
Y' = .98 + .32X4 +.21 X2 + .15X5+.10 X1
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
Zy' = .39 Z4 + .26Z2 +.18 Z5+.14 Z1
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License
References
จันทิมา นกอยู่. (2566). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระแก้ว. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
ทองอินทร์ อุบลชัย. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 . [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
นพรดา บุญหล่อวัฒนา.(2561). พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคงธัญบุรี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่ (พิมครั้งที่10). สุวีริยาสาส์น.
วรรณฤดี มณฑลจรัส และอนุสรา สุวรรณวงศ์. (2560). ภาวะผู้นําเชิงกลยุทธของผู้บริหารสถานศึกษา ในโครงการโรงเรียนประชารัฐ กรณีศึกษาจังหวัดพัทลุง,วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 10 (2),245-260.
วรวรรษ เทียมสุวรรณ, วัชรพล วิบูลยศริน, ศิโรจน์ ผลพันธิน และเหม ทองชัย. (2562). ภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 Strategic Leadership in the 21st Century. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 15(2), 211 – 222.
วิรันทร์รัตน์ เสือจอย. (2564). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรีอ่างทอง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศุกร์เกษม ปรุงผล. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สมนึก ภัททิยธนี. (2565). การวัดผลการศึกษา ฉบับปรับปรุง (พิมครั้งที่13). ประสานการพิมพ์.
สุทธิพงษ์ อันทรบุตร. (2563). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ด. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.
อภิสิทธิ์ รอดบำเรอ. (2559). รูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 10(2). 222-233.
Gill, R. (2006). Theory and practice of leadership. Sage.
Shirey, M. R. (2011). Addressing Strategy execution challenger to lead sustainable change. Journal of Nursing Administration, 41(1), 1-4. https://doi.org/10.1097/NNA.0b013e318200288a
Williams, H. S., & Johnson, T. L. (2013). Strategic Leadership in Schools. Education, 133(3), 350-355.