การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้สู่อาชีพของผู้เรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดสมอราย)

Main Article Content

ชูชาติ โจมฤทธิ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้สู่อาชีพของผู้เรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้สู่อาชีพของผู้เรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้สู่อาชีพของผู้เรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 4) เพื่อการประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้สู่อาชีพของผู้เรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ประเภทวิจัยผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ครู ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ นักเรียน ผู้ปกครอง โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้สู่อาชีพของผู้เรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน การพัฒนารูปแบบไม่มีข้อกำหนดที่ตายตัวว่าจะพัฒนาดำเนินการอะไรบ้าง การจัดการเรียนรู้จะต้องส่งเสริมให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดการเรียนรู้ตามความถนัดความสนใจและศักยภาพของผู้เรียน นักเรียนสามารถปฏิบัติได้จริง 2. รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้สู่อาชีพของผู้เรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานที่พัฒนาขึ้น ได้รูปแบบโดยใช้ชื่อรูปแบบว่า “SMR BEST SCHOOL MODEL” 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้สู่อาชีพของผู้เรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน พบว่า 1) รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้สู่อาชีพของผู้เรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานโดยภาพรวมมีการปฏิบัติ/เห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.69) 2) ผลการศึกษาความพึงพอใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการเรียนรู้สู่อาชีพของผู้เรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.64) 4. ผลการปรับปรุงการใช้รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้สู่อาชีพของผู้เรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานพบว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาโดยภาพรวมเห็นด้วยกับรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.80) นอกจากนี้จากการวิเคราะห์คำตอบจากคำถามปลายเปิดของแบบสอบถามพบว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนมีข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการเรียนรู้สู่อาชีพของผู้เรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานคือ1) ควรจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในทุกระดับชั้น 2) ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในชุมชนที่เป็นเขตบริการเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้ เช่น การอบรมหลักสูตรระยะสั้น การค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ 3) การจัดกิจกรรมควรคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ชูชาติ โจมฤทธิ์

ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 2 วัดสมอราย จังหวัดนครราชสีมา