การพัฒนาแบบวัดแรงบันดาลใจในการเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

เบญจวรรณ สวัสดิรักษ์
วราพร เอราวรรณ์
นฤมล แสงพรหม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดแรงบันดาลใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่กำลังศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชัยภูมิ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 709 คน ที่ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดแรงบันดาลใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2 ฉบับ คือ แบบวัดแรงบันดาลใจในการเรียนวิทยาศาสตร์เชิงสถานการณ์ 4 ตัวเลือก และแบบวัดแรงบันดาลใจในการเรียนวิทยาศาสตร์แบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สัน         ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง การวิเคราะห์พหุลักษณะ-พหุวิธี และการวิเคราะห์ความตรงข้ามกลุ่ม โดยใช้โปรแกรม Mplus Version 7.2 


          ผลการวิจัยพบว่า ผลการตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงเชิงโครงสร้าง พบว่า 1) ผลการวิเคราะห์พหุลักษณะ-พหุวิธี พบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เช่นกัน (CFI=1.000, TLI=1.011, RMSEA=0.000, SRMR=0.003 และ /df=0.3672) โดยแบบวัดแรงบันดาลใจในการเรียนวิทยาศาสตร์เชิงสถานการณ์ มีความตรงลู่เข้า ความเที่ยง และความตรงเชิงจำแนกอยู่ในระดับต่ำ 2) ผลการวิเคราะห์ความตรงข้ามกลุ่มของแบบวัดแรงบันดาลใจในการเรียนวิทยาศาสตร์เชิงสถานการณ์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า แบบวัดแรงบันดาลใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ มีค่าสถิติ ค่าดัชนี และค่าสัมประสิทธิ์น้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานใกล้เคียงกัน 3) ผลการวิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดแรงบันดาลใจในการเรียนวิทยาศาสตร์เชิงสถานการณ์ โดยใช้เทคนิคกลุ่มรู้ชัด (Known Group Technique) พบว่า แบบวัดแรงบันดาลใจในการเรียนวิทยาศาสตร์เชิงสถานการณ์ มีความตรงเชิงโครงสร้าง โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทั้งรายด้านและรวมทั้งฉบับ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

เบญจวรรณ สวัสดิรักษ์

สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ

วราพร เอราวรรณ์

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

นฤมล แสงพรหม

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด