พฤติกรรมการสูบบุหรี่และผลิตภัณฑ์ยาสูบของเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี ในชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

วราวุฒิ มหามิตร
เลิศฤทธิ์ ตั้งชูวงษ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบตัดขวาง (cross-sectional study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่และผลิตภัณฑ์ยาสูบของเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปีในชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ โดยใช้เทคนิคในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative research) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี จำนวน 248 คน ทำการสุ่มตัวอย่างตามความน่าจะเป็น (Probability Sampling) โดยวิธีการเลือกหน่วยตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยจำนวน ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และเพื่อศึกษาแนวทางในการควบคุมการจำหน่ายบุหรี่และผลิตภัณฑ์ยาสูบแก่เยาวชนอายุต่ำกว่า 20ปี ในชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ โดยกระบวนการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative research)         ในกระบวนการประชุมกลุ่มย่อย(Focus Group Discussion) จำนวน 12 คน ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ซึ่งเลือกผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ในการควบคุมการจำหน่ายบุหรี่และผลิตภัณฑ์ยาสูบแก่เยาวชนในชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา     (Content Analysis)


          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 71.00 กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 52.80  อยู่อาศัยในหอพักเอกชนรอบมหาวิทยาลัย ร้อยละ 61.29 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมไม่สูบบุหรี่ ร้อยละ 93.54 สำหรับกลุ่มที่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ ร้อยละ 6.46 โดยนิยมสูบทั้งบุหรี่มวนเองและบุหรี่จากโรงงาน ซึ่งสาหตุของการสูบบุหรี่เนื่องมาจากอยากลองด้วยตัวเอง ร้อยละ 81.75 โดยแหล่งที่ซื้อบุหรี่ที่ร้านสะดวกซื้อมากที่สุด ร้อยละ 50.00 ส่วนใหญ่ซื้อครั้งละซองร้อยละ 50.00 โดยสูบบุหรี่ 1-4 มวนต่อวัน       ร้อยละ 81.25 และจะสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติในเวลาดื่มเหล้า ร้อยละ 43.45 สำหรับการได้รับผลกระทบจากการสูบบุหรี่พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากควันบุหรี่ คิดเป็นร้อยละ 52.50 สำหรับแนวทางในการควบคุมการจำหน่ายบุหรี่แก่เยาวชนในชุมชนประกอบด้วย 5 กิจกรรม ได้แก่ มีมาตรการหรือการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด อบรมให้ความรู้เรื่องโทษของการสูบบุหรี่ติดป้ายบอกหรือประชาสัมพันธ์กับบุหรี่ ชาวบ้านช่วยกันเป็นหูเป็นตาเฝ้าระวังการจำหน่วยบุหรี่แก่เยาวชนและออกกำลังกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

วราวุฒิ มหามิตร

สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ

เลิศฤทธิ์ ตั้งชูวงษ์

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ