แนวทางการจัดการขยะอันตรายครัวเรือนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษาชุมชนบ้านห้วยชัน ตำบลนาฝาย อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันในการจัดการขยะอันตรายครัวเรือน ชุมชนบ้านห้วยชัน อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการจัดการขยะอันตรายครัวเรือนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนบ้านห้วยชัน อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ การวิจัยนี้ได้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) ประกอบด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก(In-depth Interview) โดยกลุ่มตัวอย่างคือ ตัวแทนผู้นำชุมชน ซึ่งข้อมูลอิ่มตัวที่จำนวน 5 คน ในการศึกษาสภาพปัจจุบันในการจัดการขยะอันตรายครัวเรือน และใช้การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ซึ่งกลุ่มตัวอย่างคือ ตัวแทนผู้นำชุมชน และตัวแทนประชาชน จำนวน 15 คน ในการศึกษาแนวทางในการจัดการขยะอันตรายครัวเรือน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า ชุมชนบ้านห้วยชันมีปริมาณขยะอันตรายเกิดขึ้น 0.377 กิโลกรัมต่อวัน มีอัตราการเกิดขยะอันตรายชุมชน 0.00048 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน ประกอบด้วยภาชนะที่บรรจุสารเคมี ร้อยละ 69.12 หลอดฟลูโอเรสเซนต์ ร้อยละ 26.47 และแบตเตอร์รี่โทรศัพท์ ร้อยละ 4.41 สภาพปัจจุบันในการจัดการขยะอันตรายครัวเรือนของชุมชนบ้านห้วยชัน โดยแต่ละครัวเรือนจะนำขยะอันตรายมาเก็บไว้ในถังรวบรวมขยะอันตรายที่จัดไว้ให้ในชุมชน จากนั้นพนักงานเก็บขยะอบต.นาฝายจะมาดำเนินการเก็บขยะอันตราย จากจุดรวบรวมขยะอันตรายที่จัดไว้ในในชุมชนประมาณสองครั้งต่อเดือน โดยเก็บรวบรวมสะสมไว้ที่อบต.นาฝาย ซึ่งจะรวบรวมและนำส่งไปให้อบจ.ชัยภูมิ เพื่อส่งบริษัทเอกชนกำจัดต่อไป ส่วนแนวทางในการจัดการขยะอันตรายครัวเรือนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนมี 2 แนวทางคือ ทุกครัวเรือนลดการใช้สินค้าที่จะก่อให้เกิดขยะอันตราย และให้ทุกครัวเรือนคัดแยกขยะ
Article Details
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License