รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติ : วิธีวิจัยเชิงผสมผสาน

Main Article Content

คำอุ่น เพชรนาท
เทิดศักดิ์ สุพันดี
สมประสงค์ เสนารัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติ 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติและ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบที่เป็นเลิศในการส่งเสริมผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติให้สูงขึ้น เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ปีการศึกษา 2560 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 และ 2 เขตละ 290 คน รวม 580 คน ได้โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอนและข้อมูลเชิงคุณภาพเก็บจากผู้บริหารสถานศึกษา 3 คน ครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 6 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 6 คน จากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 ได้มาโดยการเลือกเจาะจง จากโรงเรียนที่มีผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติ เฉลี่ยทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้สูงกว่าระดับประเทศ ติดต่อกัน 6 ปีเครื่องมือการวิจัยได้แก่ แบบทดสอบจำนวน 1 ฉบับ 30 ข้อ แบบสอบถาม 14 ข้อ และแบบสัมภาษณ์ 3 ฉบับทำการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติ พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้มีความสัมพันธ์กันทางบวก และมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 01 ทุกคู่ แสดงว่ามีความสัมพันธ์กันระหว่างตัวแปรมากพอที่จะนํามาวิเคราะห์ได้ 2. ผลการสร้างและตรวจสอบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ปัจจัยที่มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อม คือความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในการอ่านและการคิดวิเคราะห์ ค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.306, 0.194 และ0.095 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีค่าอิทธิพลเฉพาะทางตรง คือ การรู้เรื่องคณิตศาสตร์และการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ ค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.297 และ 0.108 ตามลำดับ มีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์เท่ากับ 0.946 3. ผลการพัฒนารูปแบบที่เป็นเลิศในการส่งเสริมผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติให้สูงขึ้นพบว่า กลุ่มตัวอย่างได้กำหนดหลักการในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยกำหนดเกณฑ์ผลการทดสอบให้เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 กำหนดแนวทางการดำเนินงาน ตามแผนยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิเคราะห์นักเรียนเป็นรายบุคคล จัดกิจกรรมที่หลากหลายที่เป็นไปตามปัญหาและความต้องการพัฒนาตามสภาพของผู้เรียนสอดคล้องกับจุดเน้นของสถานศึกษาและสภาพของชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

คำอุ่น เพชรนาท

สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ

เทิดศักดิ์ สุพันดี

สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ

สมประสงค์ เสนารัตน์

สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด