รูปแบบการพัฒนาการดำเนินงานตามมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 MODEL FOR DEVELOPING THE IMPLEMENTATION OF STANDARDS FOR EARLY CHILDHOOD DEVELOPMENT CENTERS UNDER LOCAL ADMINISTRATIVE ORGANIZATIONS IN THE LOWER NORTHEASTERN REGION 1

Main Article Content

ศิริทร กุลจันทร์ศรี
สมบูรณ์ ตันยะ
สงวนพงศ์ ชวนชม

บทคัดย่อ

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1  2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1  3) เพื่อประเมินความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 โดยดำเนินการวิจัยเป็น 3 ตอนได้แก่ ตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้าสถานศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 325 คน ในปีการศึกษา 2567 เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 และค่าความเชื่อมั่น 0.774 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการพัฒนาการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1  ขั้นที่ 1 ผู้วิจัยนำผลการศึกษาที่ได้จาก ตอนที่ 1 มาจัดทำ (ยกร่าง) ตามแนวคิด ทฤษฎี การสร้างรูปแบบตามองค์ประกอบของรูปแบบ คือ
1) หลักการและเหตุผลของรูปแบบ  2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) สาระสำคัญและการดำเนินการพัฒนา
4) แนวทางการนำรูปแบบสู่การปฏิบัติ และ 5) เงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ โดยนำผลจากการศึกษาการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1


ทุกด้านโดยพิจารณารายข้อที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ที่มีความจำเป็นในการพัฒนา ขั้นที่ 2 การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒินำเสนอร่างรูปแบบการพัฒนาการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 โดยผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาความเหมาะสมของรูปแบบและให้ความเห็น ขั้นที่ 3 การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 เพื่อส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ วิเคราะห์ความเหมาะสมของรูปแบบการ โดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (M) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) แปลผลตามเกณฑ์ที่กำหนด ตอนที่ 3 ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 กำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ หัวหน้าสถานศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ที่เลือกแบบเจาะจง (Purposive Selected)  จำนวน  50 คน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ 46 ชุด คิดเป็นร้อยละ 92.00  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ค่าเฉลี่ย (M) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)  แปลผลตามเกณฑ์ที่กำหนด


ผลการวิจัยพบว่า


  1. การดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด

  2. รูปแบบการพัฒนาการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) หลักการและเหตุผลของรูปแบบ (2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ (3) สาระสำคัญและการดำเนินการพัฒนา (4) แนวทางการนำรูปแบบสู่การปฏิบัติ (5) เงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด

  3. ผลประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ศิริทร กุลจันทร์ศรี, มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คณะศึกษาศาสตร์

สมบูรณ์ ตันยะ, มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คณะศึกษาศาสตร์

สงวนพงศ์ ชวนชม, มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คณะศึกษาศาสตร์

References

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2559). มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). สุวีริยาสาสน์.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. (19 สิงหาคม 2542). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 116 ตอนที่ 74 ก, หน้า 1 - 23

พิมพ์เพ็ญ ยอดแก้ว. (2551). การพัฒนารูปแบบการจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลศรีวิชัย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน (รายงานการวิจัย). สำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว).

สุวิมล ว่องวานิช. (2549).ประเภท ขั้นตอนของการประเมินอภิมาน และคุณสมบัติของนักประเมินอภิมานในการประเมินอภิมาน วิธีวิทยาและการประยุกต์ใช้. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Gesell, A., Halverson, H. M., & Amatruda, C. S. (1940). The First Five Years of Life; A Guide to the Study of the Preschool Child. Harper and Brothers.

Keeves, P. J. (1988). Educational Research, Methodology and Measurement: An International Handbook. Pergamon Press.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610. https://doi.org/10.1177/001316447003000308