การใช้กลวิธีนั่งร้านเพื่อแก้ปัญหาด้านการอ่านออกเสียงและการเขียนคำของ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา

Main Article Content

อภิชญา ชัยมาตร์
นิลรัตน์ โคตะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยกลวิธีนั่งร้าน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เปรียบเทียบทักษะด้านการอ่านออกเสียงของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ที่เรียนโดยกลวิธีนั่งร้านก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาพัฒนาการด้านการอ่านออกเสียง ของนักเรียนระดับประถมศึกษาโดยใช้กลวิธีนั่งร้าน 4) เปรียบเทียบทักษะด้านการเขียนคำ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ที่เรียนโดยกลวิธีนั่งร้านก่อนเรียนและหลังเรียน 5) ศึกษาพัฒนาการด้านการเขียนคำ ของนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยใช้กลวิธีนั่งร้าน กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนที่ไม่ประสบความสำเร็จในการเรียนภาษาไทย มีปัญหาและอุปสรรคในการเรียนด้านทักษะการอ่านออกเสียง และการเขียนคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนบ้านนางแดดเหนือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 จำนวน 4 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การแก้ปัญหาทักษะด้านการอ่านออกเสียงและการเขียนคำของนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยกลวิธีนั่งร้าน จำนวน 15 แผน 2) แบบทดสอบวัดทักษะด้านการอ่านออกเสียง สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 20 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดทักษะด้านการเขียนคำ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ


ผลการวิจัย พบว่า


1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยกลวิธีนั่งร้าน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 70.25/71.25


2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยกลวิธีนั่งร้าน มีทักษะด้านการอ่านออกเสียงหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน


3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยกลวิธีนั่งร้าน มีพัฒนาการด้านการอ่านออกเสียง สูงขึ้นตามลำดับในเกณฑ์ดี


4) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยกลวิธีนั่งร้าน มีทักษะด้านการเขียนคำ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน


5) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยกลวิธีนั่งร้าน มีพัฒนาการด้านการเขียนคำ สูงขึ้นตามลำดับในเกณฑ์ดี

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

อภิชญา ชัยมาตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์

นิลรัตน์ โคตะ, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กานต์รวี ศรีลางค์. (2556). ความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนด้วยยุทธศาสตร์การเสริมต่อการเรียนรู้ประสบการณ์การอ่าน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ณภัชนันท์ บุญระมี. (2563). การใช้กลวิธีการอ่านแบบเสริมต่อการเรียนรู้ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นสมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). โรงพิมพ์สุวีริยาสาส์น.

พริมรตา จารุกิตต์กุล. (2566). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและเขียนสะกดคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีการให้นั่งร้าน (Scaffolding) ด้วยแบบฝึกทักษะ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

พิมลพร พงษ์ประเสริฐ. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนตามรูปแบบของฮันเตอร์ร่วมกับแบบฝึกทักษะ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุชนินธ์ บัณฑุนันทกุล และวรวรรณ เหมชะญาติ. (2558). การพัฒนากระบวนการสอนซ่อมเสริมตามแนวประสบการณ์การอ่านแบบเสริมต่อการเรียนรู้ที่มีต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนประถมศึกษาปีที่1. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 17(2), 70-82.

สมนึก ภัททิยธนี. (2551). การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 6). ประสานการพิมพ์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. (2566). รายงานการคัดกรองความสามารถการอ่านการเขียนนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ปีการศึกษา 2566. กลุ่มนิเทศก์ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา.

Hartman, H. (2002). "Scaffolding & Cooperative Learning" Human Learning and Instruction. City College of City University of New York.

Larkin, M. J. (2001). Providing Support for Student Independence through Scaffolded Instruction. Teaching Exceptional Children, 34(1), 30-34. https://doi.org/10.1177/004005990103400104

Rosenshine, B., & Guenther, J. (1992). The Use of Scaffolds for Teaching Higher Level Cognitive Strategies. In J.W. Keefe, & H.J. Walberg, (Eds.), Teaching for teaching. (pp. 35-38), Verginia: National Association of Secondary School Principle.

Van de Pol, J., Volman, M., & Beishuizen, J. (2010). Scaffolding in Teacher-Student Interaction: A Decade of Research. Educational Psychology Review, 22(3): 271-296. https://doi.org/10.1007/s10648-010-9127-6

Wood, D., Bruner, J. S., & Ross, G. (1976). The role of tutoring in problem solving. Child Psychology & Psychiatry & Allied Disciplines, 17(2), 89-100.

https://doi.org/10.1111/j.1469-7610.1976.tb00381.x