การพัฒนาคลังสมรรถนะภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ที่บูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม และสุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยประยุกต์ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคลังสมรรถนะภาษาไทยเพื่อการสื่อสารที่บูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และสุขศึกษาและพลศึกษา และประเมินความสามารถของครูในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ จากคลังสมรรถนะที่พัฒนาขึ้น สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา กลุ่มเป้าหมายได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ในการประเมินความสอดคล้องเหมาะสมและความเป็นไปได้ของคลังสมรรถนะ และครูผู้สอนภาษาไทย ระดับประถมศึกษา จำนวน 8 คน ในการประเมินความสามารถในการวางแผนการจัดการเรียนรู้จากคลังสมรรถนะ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ได้คลังสมรรถนะภาษาไทยเพื่อการสื่อสารที่ประกอบด้วย คลังงานระดับชั้นละ 10 งาน รวมทั้งหมด 60 งาน เมื่อนำไปประเมิน มีความสอดคล้องเหมาะสมและความเป็นไปได้ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อนำไปใช้กับครูกลุ่มเป้าหมาย พบว่า ครูสามารถวางแผนการจัดการเรียนรู้ จากคลังสมรรถนะภาษาไทยเพื่อการสื่อสารครั้งนี้ โดยครูเลือกระดับชั้น เรื่องที่จะสอน ประเภทของงานเขียน เวลาเรียน จุดประสงค์การเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล ได้สอดคล้องกับระดับชั้น บริบทของผู้เรียน และธรรมชาติของรายวิชา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง สาระภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ดนัย เทียนพุฒ. (2550). กลยุทธ์การพัฒนาคน. บุ๊คแบงก์.
ดรุณี จำปาทอง. (2560). สภาพการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ในระดับการศึกษาภาคบังคับ. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 10(2). 121-135.
ทวิกา ตั้งประภา. (2556). การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถนะของนักเรียน : กรณีศึกษา การยกระดับการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนา “สมรรถนะและผลลัพธ์ ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21” ของประเทศสิงคโปร์. วารสารครุศาสตร์, 41(3). 213-227.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น พิมพ์ครั้งที่ 9. สุวีริยาสาส์น.
ปรียาภรณ์ ศิริวงศ์โยธิน. (2564). การพัฒนาคลังสมรรถนะการเป็นพลเมืองดีสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น [วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2548). แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วย Competency. ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์.
สุนิดา พินิจการ. (2550). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาหลักและทฤษฎีการบริหาร. การศึกษา : สมรรถนะผู้บริหาร. มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก. 21 เซ็นจูรี่.
Asian Programme of Educational Innovation for Development, & Joint Innovative Project on Integrating Subject Areas in Primary Education Curriculum. (1982). Integrating subject areas in primary education curriculum: A joint innovative project: Report of the finalization meeting, Bangkok, 9–15 December 1981. UNESCO Regional Office for Education in Asia and the Pacific.
Cohen, E. (1979). A phenomenology of tourist experiences. Sociology, 13(2). 179-201.
Jong, E. J. (2008). Contextualizing policy appropriation: Teachers’ perspectives, local responses, and English-only ballot initiatives. The Urban Review, 40. 350-370.
Leiter, M. P., & Maslach, C. (2005). “A mediation model of job burnout”. In Antoniou, A. S. G., & Cooper, C. L. (Eds.), Research companion to organizational health psychology (pp. 544-564). Edward Elgar.
Spencer, L. M., & Spencer, S. M. (1990). Competency at work: model for superior performance. Wily & Sons.