แนวทางการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและนิเวศโดยชุมชนอย่างยั่งยืน จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

ประมุข ศรีชัยวงษ์
โชติกา สิงหาเทพ
พจ ตู้พจ
พงษ์เมธี ไชยศรีหา
ภานุวัฒน์ กิตติกรวรานนท์ รัตนพิมลพลแสน
รัชดา ภักดียิ่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง แนวทางของการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและนิเวศโดยชุมชนอย่างยั่งยืน จังหวัดชัยภูมิ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและนิเวศโดยชุมชน 2) เพื่อศึกษาผลกระทบจากการการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและนิเวศโดยชุมชนในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางของการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและนิเวศโดยชุมชนอย่างยั่งยืน เก็บข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณจากประชาชนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่วิจัย จำนวน 200 คน และเชิงคุณภาพจากผู้มีส่วนได้เสียจากการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและนิเวศโดยชุมชนในการสนทนากลุ่มย่อยจำนวน 12 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 6 คน เพื่อหาแนวทางในการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและนิเวศอย่างยั่งยืน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


          ผลการศึกษาวิจัย คือผลการวิเคราะห์สภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและนิเวศโดยชุมชน พบว่าความคิดเห็นของประชาชนด้านการบริหารจัดการท่องเที่ยวชุมชนในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อวิเคราะห์รายด้าน พบว่าด้านสังคม ประเพณี วัฒนธรรมชุมชน มีคะแนนค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ สิ่งแวดล้อม ด้านการบริการนักท่องเที่ยว และด้านเศรษฐกิจชุมชน ตามลำดับ ผลการศึกษาผลกระทบจากการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและนิเวศโดยชุมชน ในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมพบว่า ด้านเศรษฐกิจ ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น มีงานทำในท้องถิ่น ได้รับการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก และเอกลักษณ์ชุมชนเพื่อดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว ส่วนผลกระทบด้านลบยังเกิดความเหลื่อมล้ำในชุมชนและการแสวงหาผลประโยชน์จากกลุ่มบุคคลบางกลุ่ม ผลกระทบด้านสังคม/ประเพณี/วัฒนธรรม พบว่าประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการท่องเที่ยวของชุมชน สามารถปรับตัวและนำเอาภูมิปัญญา ประเพณีวัฒนธรรมตลอดจนเอกลักษณ์ชุมชนมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ส่วนผลกระทบในด้านลบพบว่าเกิดความเหลื่อมล้ำในชุมชน และชุมชนใกล้เคียงที่ไม่ได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง ขาดการมีส่วนร่วมและเกิดความขัดแย้งในชุมชน มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหายาเสพติด ในด้านสิ่งแวดล้อมพบว่าเกิดการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นระเบียบสวยงาม บ้านพักอาศัย ห้องน้ำให้ถูกสุขลักษณะ อาหารสะอาดถูกสุขอนามัย ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการดูรักษาสภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ส่วนผลกระทบด้านลบในด้านสิ่งแวดล้อม พบว่ามีปริมาณขยะมูลฝอย และความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ สำหรับแนวทางของการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและนิเวศโดยชุมชนให้เกิดความยั่งยืนนั้น มีแนวทางดังนี้ คือ 1) นโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยว ต้องกำหนดแผนงานการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนที่ชัดเจน มีความต่อเนื่องและให้บทบาทกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยว 2) การมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคีเครือข่ายร่วมพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและนิเวศในชุมชน 3) กิจกรรมการท่องเที่ยว เน้นวิถีชีวิต วิถีชุมชน เอกลักษณ์ชุมชน เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักท่องเที่ยว ในด้านกิจกรรมการเกษตรและเรียนรู้ระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อมชุมชน ที่สมดุลและยั่งยืน 4) สร้างระบบระบบกลไกการบริหารจัดการท่องเที่ยวที่ดี มีประสิทธิภาพ มีคุณธรรม
ลดความเหลื่อมล้ำในชุมชนในรูปของคณะกรรมการซึ่งมีหน่วยภาครัฐเป็นที่ปรึกษา 5) การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในท้องถิ่น และ 6) การส่งเสริมตลาดสินค้าเกษตรในท้องถิ่น

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ประมุข ศรีชัยวงษ์, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

โชติกา สิงหาเทพ, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

พจ ตู้พจ, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

พงษ์เมธี ไชยศรีหา, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

ภานุวัฒน์ กิตติกรวรานนท์ รัตนพิมลพลแสน, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

รัชดา ภักดียิ่ง, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). รายงานประจำปี พ.ศ. 2558. https://www.mots.go.th/download/article/article_20151005153149.pdf

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). รายงานประจำปี พ.ศ. 2560. https://www.mots.go.th/download/AnnualReport2560resize.pdf

กรมการท่องเที่ยว. (2565). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566 – 2570)กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว. https://province.mots.go.th/ewtadmin/ewt/ranong/download/article/article_20230418122435.pdf

เจษฎา นกน้อย. (2559). การท่องเที่ยวเชิงเกษตร : แนวคิดและประสบการณ์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 36(2), 157–169

ชูวิทย์ ศิริโชคเวชกุล. 2544. การท่องเที่ยวโดยชุมชน. ม.ป.พ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). สุวีริยาสาส์น.

ยุทธพงษ์ กัยวรรณ์. (2543). พื้นฐานการวิจัย. สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น.

วนิดา อ่อนละมัย. (2563). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบชุมชนบ้านสาวะถี จังหวัดขอนแก่น. วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, 2(1) 74-83.

วันทนา ฉิมบ้านดอน. (2552). การท่องเที่ยวเชิงเกษตรในตำบลบางใบไม้ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. http://cmuir.cmu.ac.th/handle/6653943832/35656

วารุณี เกตุสะอาด และปกรณ์ สุวานิช. (2554). การประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของพื้นที่เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัย มสธ. วิจัยประจำปี 2554, 364 – 379.

วีระศักดิ์ กราปัญจะ. (2554). รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านอ่าวท่าเลน – บ้านท่าพรุ ตำบลเขาทอง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศิริภา มณีรัตน์ และ จุฑาทิพย์ เฉลิมผล. (2560). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่เหมาะสมของเส้นทางสายแม่ริม-สะเมิง อําเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. แก่นเกษตร,45(ฉบับพิเศษ 1), 540-544.

สำนักงานจังหวัดชัยภูมิ. (2560). ประเด็นยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัดชัยภูมิ. https://www.chaiyaphum.go.th/page_about/about11.php

Sowmya, K.S., Srikanth, C.D., & Sudha, M.. (2014). Agri-Tourism: Innovative Income Generating Activity for Enterprising Farmers. Global Journal of Advanced Research 1(2). 329-332.

Srichaivoung, P., Suksai, L., Phungphet, S., & Jedaman, P. (2020). Ecological Agriculture Tourism Management based on Sustainable Community Participation in Northeast Regions, Thailand. International Journal of Innovative Science and Research Technology, 5(2), 126–128.

United Nations Development Programme. (2022, May 4). UNDP Annual Report 2021. https://www.undp.org/publications/undp-annual-report-2021