ผลการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค Jigsaw II หน่วยการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อม สาระภูมิศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อม ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค Jigsaw II 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค Jigsaw II กับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 3) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองพลวง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 26 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อม ระดับชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 5 โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค Jigsaw หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค Jigsaw II ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ระดับพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค Jigsaw II มีค่าเฉลี่ย 4.13 อยู่ในระดับดี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License
References
กนก จันทรา (2562). การจัดการเรียนรู้เพื่อการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ในวิชาสังคมศึกษา. http://academic.obec.go.th/images/mission/1524627007_d_1.pdf
ทิพวรรณ์ สลีอ่อน, ระพีพัฒน์ เดือนเพ็ญ และสิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์. (2564). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ 2 วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสาร มหาวิทยาลัยบูรพา (HRD Journal), 12(1), 42-55.
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2560). รูปแบบการเรียนการสอน ทางเลือกที่หลากหลาย (พิมพ์ครั้งที่ 9). จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 6). สุวีริยาสาส์น.
ปิยะนันท์ บุญโพธิ์, และเพชรรัตน์ จงนิมิตสถาพร. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการทำงานกลุ่ม โดยใช้การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ด้วยเทคนิค JIGSAW กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายประถมศึกษา (ศึกษาศาสตร์). วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (EDKKUJ), 42(2), 65-71
วัชรา เล่าเรียนดี. (2548). เทคนิคการจัดการเรียนการสอนและการนิเทศ. มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์.(2545). พัฒนาการเรียนการสอน. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Rhoades, J. & McCabe, E M. (1993). The cooperative classroom. National Education Service: Bloomington
Slavin, R. E. (1995). Cooperative Learning: Theory, Research and Practice. Allyn and Bacon