การพัฒนาคลังข้อสอบวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคลังข้อสอบวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบ 2 พารามิเตอร์ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในภาคเขตตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 2,167 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แบบเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก วิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบโดยใช้โมเดลการตอบสนองข้อสอบที่ตรวจให้คะแนนรายข้อแบบสองค่าด้วยโปรแกรมภาษา R แพ็กเกจ MIRT ผลการวิจัย พบว่า ข้อสอบวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สร้างขึ้น จำนวนทั้งสิ้น 543 ข้อ และผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความตรงเชิงเนื้อหา มีข้อสอบที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 485 ข้อ
มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80 - 1.00 แบ่งข้อสอบออกเป็น 10 ฉบับ ๆ ละ 50 ข้อ มีข้อสอบร่วม จำนวน 10 ข้อ นำไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง และนำผลการทดสอบมาปรับเทียบโดยใช้โปรแกรมภาษา R แพ็กเกจ Equate แล้วนำมาปรับเทียบด้วยวิธีโค้งลักษณะข้อสอบของ Haebera Method ได้ข้อสอบที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ จำนวน 289 ข้อ โดยมีค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบ ได้แก่ ค่าความยากอยู่ระหว่าง -0.84
ถึง +2.50 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.40 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.21 และมีค่าอำนาจจำแนก 0.50 ถึง 2.52 ซึ่งแสดงว่าข้อสอบมีระดับความยากอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงยาก โดยคลังข้อสอบที่สร้างขึ้นใช้โปรแกรม PhpMyAdmin ในการจัดทำฐานข้อมูล ประกอบด้วย รูปภาพ ตัวเลข และตัวอักษร และฐานข้อมูลในคลังข้อสอบนี้จะนำไปพัฒนาโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License
References
เบญจมาภรณ์ เสนารัตน์. (2558). การพัฒนาเครื่องมือประเมินความสามารถทางการวิจัยการศึกษาของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เบญจมาภรณ์ เสนารัตน์ และสมประสงค์ เสนารัตน์. (2560). หลักการวัดและประเมินผลทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์.
เบญจมาภรณ์ เสนารัตน์ และสมประสงค์ เสนารัตน์. (2561). หลักการวัดและประเมินผลทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์.
ศักดิ์ชัย จันทะแสง เสรี ชัดแช้ม และปิยะทิพย์ ประดุจพรม. (2562). การพัฒนาวิธีการจัดคลังข้อสอบตามค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบแบบเป็นช่วงของแต่ละระดับชั้นร่วมกับการจัดสมดุลเนื้อหา. วารสารวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 16(2). 109-125.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2555). ทฤษฎีทดสอบแนวใหม่.(พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2563). ทฤษฎีการทดสอบแนวใหม่ (MODERN TEST THEORY) (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). ผลการประเมิน PISA 2015 วิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์ (ฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2565, 30 พฤษภาคม). สสวท. เร่งยกระดับผลการเรียนรู้วิทย์-คณิต เผยเหตุปัจจัยพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. https://www.ipst.ac.th/news/27587/20220530-news.html
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2567, 7 กุมภาพันธ์). ผลการประเมิน PISA 2022 : บทสรุปสำหรับผู้บริหาร. https://pisathailand.ipst.ac.th/pisa2022-summary-result/
สุวิมล กฤชคฤหาสน์ และสุวิมล ติรกานันท์. (2560). การพัฒนาคลังข้อสอบกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 9(17). 145-159.
อภิญญา พลยืน สมประสงค์ เสนารัตน์ และเบญจมาภรณ์ เสนารัตน์. (2566). การพัฒนาคลังข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, 5(2). 73-84.
Albano, A. D. (2016). equate: An R Package for Observed-Score Linking and Equating. Journal of Statistical Software, 74(8), 1–36. https://doi.org/10.18637/jss.v074.i08
Chalmers, R. P. (2012). mirt: A Multidimensional Item Response Theory Package for the R Environment. Journal of Statistical Software, 48(6), 1–29. https://doi.org/10.18637/jss.v048.i06
Millman, J., & Arter, J. A. (1984). Issues in Item Banking. Journal of Educational Measurement, 21(4), 315-330.
Weiss, D. J. (2011). Better data from better Measurements using computerized adaptive testing. Journal of Methods and Measurement in the Social Sciences, 2(1), p. 1-27.