การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะครูปฐมวัยด้านการออกแบบและพัฒนาหลักสูตร ระดับชั้นเรียนแบบเด็กนักวิจัยเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

วิภารัตน์ อิ่มรัมย์
วิไลวรรณ ศิริเมฆา
ธนากร เทียมทัน
กัลยา พวงมะลิ
สุทิศา โขงรัมย์
ชนิสรา ไกรสีห์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและศึกษาผลการทดลองใช้หลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะครูปฐมวัยด้านการออกแบบและพัฒนาหลักสูตรระดับชั้นเรียนแบบเด็กนักวิจัยเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย การดำเนินการวิจัยมี 3 ระยะ ได้แก่ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสมรรถนะครูปฐมวัยด้านการออกแบบและพัฒนาหลักสูตรระดับชั้นเรียน 2) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม 3) ทดลองและศึกษาผลการทดลองใช้หลักสูตร กลุ่มเป้าหมายในการทดลองใช้หลักสูตร เป็นครูผู้สอนในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนในเครือข่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เอกสารหลักสูตรอบรมและคู่มือประกอบการใช้หลักสูตรอบรม แบบสอบถามประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้เกี่ยวกับกรอบสมรรถนะครูปฐมวัย แบบทดสอบสมรรถนะครูปฐมวัยด้านความรู้ แบบประเมินสมรรถนะครูปฐมวัยด้านทักษะ แบบวัดสมรรถนะครูปฐมวัยด้านคุณลักษณะ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1. กรอบสมรรถนะครูปฐมวัยด้านการออกแบบและพัฒนาหลักสูตรระดับชั้นเรียนแบบเด็กนักวิจัยเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย 3 สมรรถนะหลัก 10 สมรรถนะย่อย 36 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ด้านความรู้ จำนวน 5 สมรรถนะ ด้านทักษะ จำนวน 2 สมรรถนะ และด้านคุณลักษณะ จำนวน 3 สมรรถนะ ในภาพรวมทั้งหมดมีความเหมาะสมและเป็นไปได้มากที่สุด (M = 4.70 , SD = 0.43) 2. หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีจำนวน 8 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ความเป็นมาของหลักสูตร 2) หลักการของหลักสูตร 3) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 4) สมรรถนะครูปฐมวัยด้านการออกแบบและพัฒนาหลักสูตรระดับชั้นเรียน  5) โครงสร้างเนื้อหาของหลักสูตร 6) กิจกรรมหลักสูตร 7) สื่อและแหล่งเรียนรู้ประกอบหลักสูตร 8) การวัดและประเมินผลหลักสูตร จากผลการตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรอบรมโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า องค์ประกอบของร่างหลักสูตรหลักสูตร มีค่าเฉลี่ยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.68, SD. = 0.46) และมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.57-1.00  และร่างคู่มือการใช้หลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะครูปฐมวัยฯ มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.68, SD = 0.44) 3. ผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า 1) สมรรถนะด้านความรู้หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม  2) สมรรถนะด้านทักษะหลังการฝึกอบรม มีค่าเฉลี่ยรวมทั้ง 2 สมรรถนะ อยู่ในระดับดีมาก (M = 4.70, SD = 0.10) 3) สมรรถนะด้านคุณลักษณะหลังการอบรมมีค่าเฉลี่ยรวมทั้ง 3 สมรรถนะ อยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.54, SD = 0.03) นอกจากนั้นครูยังมีความพึงพอใจต่อการใช้หลักสูตรอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.69, SD = 0.46)

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

วิภารัตน์ อิ่มรัมย์, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คณะครุศาสตร์ 

วิไลวรรณ ศิริเมฆา, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คณะครุศาสตร์

ธนากร เทียมทัน, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คณะครุศาสตร์

กัลยา พวงมะลิ, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คณะครุศาสตร์

สุทิศา โขงรัมย์, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คณะครุศาสตร์

ชนิสรา ไกรสีห์, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คณะครุศาสตร์

References

กนกอร ปราชญ์นคร. (2550). การพัฒนาหลักสูตรการอบรมเสริมสร้างสมรรถนะข้าราชการประจำศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เอาชนะยาเสพติดจังหวัด. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. 2561) คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี. ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). รายงานผลการประเมินพัฒนาการนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ปีการศึกษา 2563. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

เกษศิรินทร์ ศรีสัมฤทธิ์. (2556). รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพครูด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

โชติกา กุณสิทธิ์. (2563). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดการใช้สมองเป็นฐานสำหรับครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). สุวีริยาสาส์น.

ปัญจนาฏ วรวัฒนชัย. (2565). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์. วารสารครุศาสตร์สาร. 16(1), 14-31.

พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร. (2562). สมรรถนะและการจัดการเชิงกลยุทธ์. ตักสิลาการพิมพ์.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2535). การพัฒนาหลักสูตรแบบครบวงจร. สุวีริยาสาส์น.

สลิลนา ภูมิพาณิชย์. (2563). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสมรรถนะการออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยงสำหรับครูในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(1), 261-276.

สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2547). รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาโครงการเด็กนักวิจัยและการประเมินเน้นเด็กเป็นสำคัญ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2553). การวัดและประเมินแนวใหม่: เด็กปฐมวัย. ดอกหญ้าวิชาการ.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2548). สมรรถนะในระบบข้าราชการพลเรือนไทย. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 - 2579. พริกหวานกราฟฟิค.

อนุชิต จันทศิลา. (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถด้านภาษาของผู้เรียนสำหรับครูประถมศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

Bloom, B.S. (1976). Human characteristics and school learning. McGraw-Hill.

Brun & Judy K. (1997). Leadership Development Curriculum for Family and Consumers Sciences Under graduates. Dissertation Ph.D. (Guidance & Counseling). Iowa State University: available: UMI: Dissertation Abstracts (DAI-A 58/03).

Guvis, J.P., & M.T. Grey. (1995). The Anatomy of a Competency. Journal of Nursing Staff Development, 11(5), 247-252.

Taba, H. (1962). Curriculum development: Theory and practice. Harcourt Brace and World.