การสร้างสรรค์นาฏยอลังการบนฐานวัฒนธรรมชาติพันธุ์ภูมิภาคตะวันตก: กรณีศึกษา การแสดงชุด ศรัทธาแห่งพุน้ำร้อน อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี

Main Article Content

กรวิภา เลาศรีรัตนชัย
บงกช ทิพย์สุมณฑา

บทคัดย่อ

การสร้างสรรค์นาฏยอลังการบนฐานวัฒนธรรมชาติพันธุ์ภูมิภาคตะวันตก: กรณีศึกษา การแสดงชุด ศรัทธาแห่งพุน้ำร้อน อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี มีวัตถุประสงค์งานวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาบริบท ศิลปวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ภูมิภาคตะวันตก 2) เพื่อสร้างสรรค์ศิลปะการแสดงโดยชุมชนบนฐานทุนวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ภูมิภาคตะวันตก พื้นที่กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ชุมชนบ้านพุน้ำร้อน จังหวัดราชบุรี โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) และการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) มีเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ชุมชน การประชุมกลุ่มย่อย แบบประเมินการแสดงและแบบสอบถามนักท่องเที่ยว โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อออกแบบและสร้างสรรค์การแสดงชุด ศรัทธาแห่งพุน้ำร้อน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในชุมชนบ้านพุน้ำร้อน อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี มีวิถีชีวิตอยู่คู่กับสายน้ำสำคัญ 3 แหล่ง ได้แก่ 1) น้ำฝน 2) น้ำจากอ่างเก็บน้ำพระราชทาน และ3) น้ำจากบ่อน้ำพุร้อน ชาวกะเหรี่ยงส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา อีกทั้งยังมีศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญคือ การละเล่นกระทบไม้ ที่ถือเป็นทุนทางวัฒนธรรมที่มีความเป็นเอกลักษณ์ นำมาถ่ายทอดผ่านทางการแสดงและองค์ประกอบการแสดงได้แก่ แนวคิด ดนตรี เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์ประกอบการแสดง ผู้แสดง รวมไปถึงท่ารำที่ใช้ในการแสดง เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับชุมชนและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงไว้ให้คงอยู่คู่กับชุมชนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

กรวิภา เลาศรีรัตนชัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

 สาขาวิชานาฏศิลป์และศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

บงกช ทิพย์สุมณฑา, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

 สาขาวิชานาฏศิลป์และศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

References

จินตนา สายทองคำ ณรงค์ฤทธิ์ เชาว์กรรม และพิมพิกา มหามาตย์. (2566). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านศิลปะการแสดงเพื่อยกระดับคุณภาพสังคมอย่างยั่งยืน จังหวัดนครปฐม. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 8(3), 500.

เฉลิมพล จันทรโชติ. (2565). การสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายการแสดงชุด สาวปากใต้. วารสารวิพิธพัฒนศิลป์, 2(2), 69.

ศิริธร สาวเสม. (2555). ดนตรีกะเหรี่ยง กรณีศึกษาหมู่บ้านโป่งกระทิงบน ตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

แสงแข สพันธุพงศ์. (2564). มุมมองเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคตะวันตกผ่านน้ำพริก. วารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 3(1), 74.

สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดราชบุรี. (ม.ป.ป.) ข้อมูลทั่วไปจังหวัดราชบุรี. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2567, จาก http://www.nfcrbr.or.th/data/ratchaburi.pdf

อาภรณ์ สุนทรวาท. (2551). รำกะเหรี่ยงอำเภอสวนผึ้ง. เพชรเกษม พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.

อุษา กุลบุตร. (2558). ความตื่นตัวทางการเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง : กรณีศึกษา กลุ่มบ้านบางกะม่า อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.