การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา: การวิเคราะห์อภิมาน

Main Article Content

บุญฑริกา สร้อยจิตร
เบญจมาภรณ์ เสนารัตน์
คันธทรัพย์ ชมพูพาทย์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัย ศึกษาค่าขนาดอิทธิพลของงานวิจัยที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน และเปรียบเทียบค่าขนาดอิทธิพลของกลุ่มวิธีการสอน 3 วิธีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตัวอย่างเป็นงานวิจัยที่ตีพิมพ์ปี พ.ศ. 2559 ถึง 2566 จำนวน 70 เล่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย และแบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย พบว่า


  1. คุณลักษณะของงานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในระดับมากที่สุด คือ เพศหญิง งานวิจัยระดับปริญญาโท ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2560มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และวิธีวิทยาการวิจัยระดับมากที่สุด คือ วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ ประชากร 200 คนขึ้นไป ใช้วิธีสอนแบบสะเต็มศึกษา แนวคิดการประมวลผลสารสนเทศ ตัวแปรต้นและตัวแปรตาม 1 ถึง 2 ตัวแปร ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม แบบแผนการวิจัยก่อนทดลอง วิเคราะห์ความตรงเชิงเนื้อหา ความเที่ยงของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน และสถิติ t แบบกลุ่มสัมพันธ์

  2. ขนาดอิทธิพลของงานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของนักเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา พบว่า กลุ่มวิธีการสอนทั้ง 3 วิธี มีค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพล 3.44 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.22

  3. เปรียบเทียบค่าขนาดอิทธิพลของกลุ่มวิธีการสอน 3 วิธี เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของนักเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา พบว่า ค่าขนาดอิทธิพลของกลุ่มวิธีการสอนทั้ง 3 วิธี ไม่แตกต่างกัน ที่นัยสำคัญทางสถิติระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

บุญฑริกา สร้อยจิตร, มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์

เบญจมาภรณ์ เสนารัตน์, มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์

คันธทรัพย์ ชมพูพาทย์, มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์

References

กมลพร ทองธิยะ และกิตติชัย สุธาสิโนบล. (2564). การพัฒนาการคิดขั้นสูง : ความสามารถทางสติปัญญาที่สำคัญในยุค New Normal. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร,19(2), 28 – 44.

กัญญาวีร์ ชายเรียน. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาชีววิทยาโดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

กนิษฐา พูลลาภ. (2563). การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ร่วมกับการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน สำหรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนผดุงนารี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

คะเณยะ อ่อนนาง. (2564). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยบูรณาการแนวคิดการเรียนรู้ที่เน้นกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมในวิชาภาษาไทย สาขาวิชาการประถมศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, สนับสนุนทุนวิจัยโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

จเร ลวนางกูร. (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วตนเองที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านการคิดขั้นสูงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชบาพร พิมวัน. (2563). การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับสืบเสาะหาความรู้ (5E) ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมบัติของสารพันธุกรรมและมิวเทชันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ณัฐพงษ์ พูลรมย์. (2561). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

วิชุดา วงศ์เจริญ. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคโนโลยีเสมือนจริงเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วนัสนันท์ ชูรัตน์. (2564). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยใช้รูปแบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ร่วมกับอินโฟกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง กรด-เบส. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2544). วิทยาการด้านการคิด. เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. สุวีริยาสาส์น.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). การวิเคราะห์อภิมาน (Meta-Analysis). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิตยา ม่วงพะเนาว์ (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ โครงสร้างของพืช และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับผังมโนทัศน์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต].มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

นัฏฐารุจา สร้อยกุดเรือ. (2564). การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบเปิดเพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

บุษยา ธงนำทรัพย์. (2562). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน เรื่อง พลังงานความร้อนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด. 9119 เทคนิค พริ้นติ้ง.

ภานุวัฒน์ สงแสง. (2563). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มนัสชนก บุตรสีโคตร. (2562). การพัฒนาระบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงและความสามารถแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสารคาม.

ศิริพร ข่าขันมะลี. (2559). การสังเคราะห์งานวิจัยการจัดการเรียนการสอนวิชาเคมีที่ส่งผลต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการวิเคราะห์อภิมาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักราชบัณฑิตยสภา. (2558). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. สำนักราชบัณฑิตยสภา.

สุรีย์วัลย์ พันธุระ. (2560). การพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมประสงค์ เสนารัตน์. (2561). การวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). อภิชาติการพิมพ์.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติพ.ศ. 2561-2580.กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุทธิรักษ์ นิลาลาด. (2562). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษาที่เน้นกระบวนการ ออกแบบเชิงวิศวกรรมเรื่อง แรงและการเคลื่อนทีเพื่อพัฒนาความเข้าใจ มโนมติและทักษะการคิดแก้ปัญหาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สุพัฒน์ สุกมลสันต์. (2566). พัฒนาการใหม่ของการอภิวิเคราะห์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 15(1), 1–26.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน. โอเดียนสโตร์.

อภิชา อารุณโรจน์. (2553). อิทธิพลของคุณลักษณะผู้เรียน และการจัดการเรียนการสอนที่มีต่อการคิดขั้นสูงที่ส่งผ่านการคิดขั้นต้น: การวิเคราะห์อภิมาน. [ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอกพร ธรรมยศ. (2564). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง การแยกสาร โดยการจัดการเรียนรู้แบบสตีมศึกษาร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. [ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

Borenstein, M., Hedges, L.V., Higgins, J.P. & Rothstein, H.R. (2009). Introduction to Meta-Analysis. John Wiley & Sons, West Sussex.

Cooper, H., & Hedges, L. V. (Eds.). (1994). The handbook of research synthesis. Russell Sage.

Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences (2nd ed.). Erlbaum Associates, Publishers.

Ellis, D. (1989).” A behavioral approach to information retrieval design”. Journal of Documentation, 45(3), 171-122.

Garrison, D. R. (1997). Self-Directed Learning: Toward a Comprehensive Model. Adult Education Quarterly, 48(1), 18-33. http://dx.doi.org/10.1177/074171369704800103

Klausmeier. H. J. (1985). Educational Psychology. Harper & Row.

Privitera, G. J. (2018). Statistics for the behavioral sciences (2nd ed.). Sage Publications, Inc.

Swartz & Perkins, D.N. (1990). The Practitioners Guide to Teaching Thinking Series: Teaching Thinking Issues and Approaches. Midwest.

Taylor, B. (1995). Self-Directed Learning: Revisiting an Idea Most Appropriate for Middle School Students. http://files.eric.ed.gov/fulltext/ED395287.pdf

UNESCO. (2017). Education for Sustainable Development Goals: learning objectives. UNESCO Publishing.

Zhai, C., & Guyatt, G. (2024). Fixed-effect and random-effects models in meta-analysis. Chinese Medical Journal, 137(1), 1-4.