การประกอบสร้างอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์กวยในบริบทการท่องเที่ยว ของจังหวัดสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการประกอบสร้างอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์กวยในบริบท การท่องเที่ยวของจังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อศึกษาบทบาทของการท่องเที่ยวที่มีต่อกลุ่มชาติพันธุ์กวยในจังหวัดสุรินทร์ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการท่องเที่ยวที่คาบเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์กวยในจังหวัดสุรินทร์ ประกอบด้วย ภาครัฐบาล 8 ท่าน ภาคเอกชน 3 ท่าน และภาคชุมชน 30 ท่าน รวมทั้งสิ้น 41 ท่าน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง และแบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แนวคิด ทฤษฎีด้านคติชนวิทยา และด้านการท่องเที่ยว นำเสนอข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า การประกอบสร้างอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์กวยในหมู่บ้านตากลาง และหมู่บ้านอาลึโฮมสเตย์ เป็นการนำเสนออัตลักษณ์ใหม่ผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยว คือ 1) อัตลักษณ์ด้านอาหาร: ทั้ง 2 ชุมชนเลือกนำเสนออาหารที่ใช้วัตถุดิบในพื้นที่ที่เชื่อมโยงกับภูมิศาสตร์ของชุมชน 2) อัตลักษณ์ด้านที่อยู่อาศัย: บ้าน “ดุง” บ้านตากลางเป็นชุมชนเลี้ยงช้าง จึงผูกช้างไว้ใกล้บ้าน และมีศาลปะกำตั้งอยู่ไม่ไกล บ้านอาลึโฮมสเตย์ มีการอนุรักษ์บ้านโบราณชาวกวย 3) อัตลักษณ์ด้านการแต่งกาย: นำเสนอผ่านการแต่งกายต้อนรับผู้มาเยือน ใช้ผ้าไหมสีดำมาตัดเป็นเสื้อ ตกแต่งด้วยการแซวผ้า ผู้หญิงใส่ผ้าถุง พาดผ้าสไบบนบ่า ผู้ชายใส่โสร่งหรือกางเกงขายาว 4) อัตลักษณ์ด้านภาษา: นำเสนอภาษาผ่านการกล่าวต้อนรับผู้มาเยือน และการกำหนดชื่อฐานการเรียนรู้ 5) อัตลักษณ์ด้านความเชื่อ: มีความเชื่อความศรัทธาอย่างเข้มข้นในอำนาจเหนือมนุษย์ บทบาทของการท่องเที่ยวที่มีต่อกลุ่มชาติพันธุ์กวยในจังหวัดสุรินทร์ คือ 1) บทบาทต่อเศรษฐกิจในชุมชน: ชาวชุมชนมีรายได้เสริมจากการท่องเที่ยวทั้งทางตรงและทางอ้อม 2) บทบาทของการท่องเที่ยวต่อสังคมหรือวัฒนธรรมในชุมชน: ชาวชุมชนเกิดความสามัคคี และมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น อัตลักษณ์ของตนได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟู 3) บทบาทของการท่องเที่ยวต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชน: ชาวชุมชนใส่ใจการปรับภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมโดยรอบชุมชน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุรินทร์. (2566, กุมภาพันธ์ 6). สัมภาษณ์
คำพา ยิ่งคง และสารภี ขาวดี. (2563). การประกอบสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนเพื่อรองรับการท่องเที่ยวOTOP นวัตวิถี กรณีศึกษา บ้านเชียงสง ตำบลเมืองลีง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 14(1), 95-111.
โครงการคชอาณาจักร. (2566, กุมภาพันธ์ 6). สัมภาษณ์
ชาวชุมชนบ้านตากลาง. (2566, มีนาคม 29). สัมภาษณ์
ชาวชุมชนบ้านอาลึโฮมสเตย์. (2566, มีนาคม 29). สัมภาษณ์
พิจารศรี จีระนันทกิจ. (2561). ผลกระทบต่อการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมกรณีศึกษา: ตลาดน้ำไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
https://doi.org/ 10.14457/TU.the.2018.470
เพ็ญศิริ สมารักษ์ นันทภัค บุรขจรกุล และเปรมปรีดา ทองลา. (2563). ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตำบลบางสระเก้า อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. https://eresearch.rbru.ac.th/showthesis.php?theid=1980&depid=5
วัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์. (2566, กุมภาพันธ์ 7). สัมภาษณ์
วิสาหกิจชุมชนแซตอมออร์แกนิคฟาร์ม สุรินทร์ . (2566, กุมภาพันธ์ 5). สัมภาษณ์
ศิราพร ณ ถลาง และสุพิน ฤทธิ์เพ็ญ. (2558). งานปอยไทใหญ่: การแสดงอัตลักษณ์ของชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิราพร ณ ถลาง. (2562). “คติชนสร้างสรรค์” บทสังเคราะห์และทฤษฎี (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
ศูนย์คชศึกษา. (2566, กุมภาพันธ์ 7). สัมภาษณ์
สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์. (2566, กุมภาพันธ์ 7). สัมภาษณ์
สารภี ขาวดี. (2559). ประเพณีแซนโฎนตาบูชาบรรพบุรุษ จังหวัดสุรินทร์ การประกอบสร้างและบทบาทของประเพณีประดิษฐ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.699