ช่องว่างระหว่างวัยต่อทัศนคติและพฤติกรรมในการปฏิบัติงาน ของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาช่องว่างระหว่างวัยต่อทัศนคติและพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ เพื่อศึกษาช่องว่างระหว่างวัยของบุคลากรส่งผลต่อทัศนคติและพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณเลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 113 คน ซึ่งได้แก่บุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ โดยใช้เกณฑ์ของ Kerlinger ด้วยวิธีการสุ่มแบบ Accidental sampling method ใช้เครื่องมือการวิจัยด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละสถิติ ค่าเฉลี่ย สถิติอนุมานประกอบด้วย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One-Way ANOVA ผลการศึกษาพบว่า 1. ทัศนคติและพฤติกรรมของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ด้านทัศนคติในการทำงานอยู่ในระดับดีมากมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.967 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.521 ด้านพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยู่ในระดับดีมากมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.860 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.620 2. ช่องว่างระหว่างวัยต่อทัศนคติและพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิพบว่าเจเนอเรชั่นแตกต่างกันของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิไม่ส่งผลต่อระดับทัศนคติและพฤติกรรมของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License
References
กรรณิการ์ เหมือนประเสริฐ. (2548). ทัศนคติของพนักงานที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์กรบริษัท คูเวต ปิโตรเลียม (ประเทศไทย) จำกัด. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ณัฐวดี ณ ระนอง. (2565). การปฏิบัติงานของข้าราชการภายใต้ปัญหาช่องว่างระหว่างวัย : ศึกษาเฉพาะกรณีสำนักนโยบายและแผนสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ถนัดกิจ จันกิเสน. (3 พฤษภาคม 2565). ผลวิจัยใหม่ Gen Z และ Millennials ยอม ‘ลาออก’ หรือ ‘ว่างงาน’ ถ้าต้องทำงานในบริษัทที่ ‘ไม่มีความสุข’. The Standard. https://thestandard.co/gen-z-millennials-rather-quit-jobs-unemployed-than-unhappy-study-data-trends/
นิภา วิริยะพิพัฒน์. (2559). บทบาทของ HRM : การจัดการช่องว่างระหว่างวัยในองค์กร. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนครสาขามนุษย์และสังคมศาสตร์, 1(2), 73-88.
พัชราพรรณ กิจพันธ์. (2561). ประเทศไทยเข้าสู่งสังคมผู้สูงอายุ. FDA Journal, 25(3), 4-8.
อับดุลกอเดร์ แวหะยี. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานร่วมกันของบุคลากรต่างช่วงอายุภายในองค์กร. วารสารรามคำแหง, 1(2), 79-94.
Hannam, S., & Yordi, B. (February 2011). Engaging a Multi-Generational Workforce: Practical Advice for Government Managers. IBM Center for The Business of Government. https://www.businessofgovernment.org/sites/default/files/Hannam_Yordi.pdf
Kerlinger, F. N. (1973). Foundations of Behavioral Research (2nd ed.). New York: Holt, Rinehart and Winston.