แนวทางการสร้างเสริมสุขภาพพระสงฆ์ในอำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

พระพิทักษ์ มอขุนทด
สุนทร ปัญญะพงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัญหาการสร้างเสริมสุขภาพพระสงฆ์อำเภอด่านขุดทด จังหวัดนครราชสีมา และ 2) หาแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพพระสงฆ์อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ใช้การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณประชากรคือพระสงฆ์ในอำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 776 รูป กลุ่มตัวอย่างได้แก่พระสงฆ์จำนวน 254 รูป กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของทาโร่ ยามาเน่ โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 
ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพกลุ่มเป้าหมายจำนวน 19 รูป/คน โดยเลือกแบบเจาะจงจาก พระสงฆ์ บุคคล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการสร้างเสริมสุขภาพพระสงฆ์อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย ระดับปัญหามากที่สุด ได้แก่ 1) ปัญหาด้านการบริโภคอาหารของพระสงฆ์ ได้แก่ การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง (equation=4.75, S.D. =3.219) แกงหมูสามชั้น หมูพะโล้ (equation =4.58, S.D. =.820) บริโภคอาหารประเภททอด ( equation=4.56, S.D. =.807) และ 2) ปัญหาด้านการออกกำลังกาย ได้แก่ การเดินนานเกินไปต่อสัปดาห์ (equation =4.77, S.D. =.929) การยกสิ่งของที่หนักขึ้น-ลง (equation = 4.60, S.D. =1.027) และ การเดินขึ้น-เดินลง ( equation=4.53, S.D. =1.008)


ส่วนแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพพระสงฆ์อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย 1) ด้านการบริโภคอาหาร พระสงฆ์ควรพิจารณาเลือกรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์และเหมาะสมแก่ร่างกายตามวัยอายุ ควรเว้นอาหารที่มีไขมัน รสจัด เค็มจัด หวานจัด เผ็ดจัด  และ 2) ด้านการออกกำลังกาย อาศัยการเดินบิณฑบาต การกวาดลานวัด ถูศาลาการเปรียญ การยกของหนักแต่พอดีกับสมณสารูป และการเดินขึ้นลงให้น้อยลง เพื่อให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและลดความเสียงต่อการเกิดโรคต่างๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

พระพิทักษ์ มอขุนทด, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

สุนทร ปัญญะพงษ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

References

คูณ โทขันธ์. (2537). พระพุทธศาสนากับชีวิตประจำวัน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พระครูปริยัติธานสมาน. เจ้าอาวาสวัดบ้านหาร และเจ้าคณะอำเภอด่านขุนทด. (2566, พฤษภาคม 25). สัมภาษณ์

พระครูสุวิธานพัฒนบัณฑิต, ธวัลรัตน์ แดงหาญ, และ สรัญญา วภัชชวิธี. (2558). พัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพองค์รวมของพระสงฆ์ในจังหวัดขอนแก่น โดยเน้นการมีส่วนร่วมของเครือข่าย. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 22(2), (117-130).

พินิจ ลาภธนานนท์. (2557) . โภชนปฎิบัติเพื่อสุขภาพพระสงฆ์. กรงเทพฯ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รวีโรจน์, ศรีคำภา. (2561) . สุขภาวการณ์พัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะตามแนววิธีพุทธโดยการบูรณาการสาธารณสุขเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของจังหวัดพะเยา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่. https://shorturl.at/iuGhN

ศุภลักษณ์ ธนธรรมสถิต, ปราณปรียา โคสะสุ และศิรดา ศรีโสภา. (2552). รายงานวิจัยสุขภาวะของพระภิกษุสงฆ์ในจังหวัดอุบลราชธานี. ศูนย์อนามัยที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี.

สุชาดา วงศ์สืบชาติ. (2554). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ในกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต] มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุนันท์ แสวงทรัพย์. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของพระสงฆ์ในจังหวัดนครนายก. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Carvalho, M. J., Marques, E., & Mota, J. (2009). Training and detraining effects on functional fitness after a multicomponent training in older women. Gerontology, 55(1), 41-48.

Crichton, G. E., Bryan, J., Buckley, J., & Murphy, K. J. (2011). Dairy consumption and metabolic syndrome: a systematic review of findings and methodological issues. Obesity reviews : an official journal of the International Association for the Study of Obesity, 12(5), 190–201. https://doi.org/10.1111/j.1467-789X.2010.00837.x

Kodama, Satoru & Tanaka, Shiro & Saito, Kazumi & Shu, Miao & Sone, Yasuko & Onitake, Fumiko & Suzuki, Emiko & Shimano, Hitoshi & Yamamoto, Shigeru & Kondo, Kazuo & Ohashi, Yasuo & Yamada, Nobuhiro & Sone, Hirohito. (2007). Effect of Aerobic Exercise Training on Serum Levels of High-Density Lipoprotein Cholesterol: A Meta-analysis. Archives of internal medicine. 167(10):999–1008. https://doi.org/10.1001/archinte.167.10.999

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.