ความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น 2) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้มาจากสูตร Taro Yamane (1973) ที่ระดับความคลาดเคลื่อนในการสุ่ม .05 จำนวน 290 คน จากนั้นสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) เทียบสัดส่วนกลุ่ม ได้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 34 คน และครู จำนวน 256 คน รวม 290 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับมีความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified)
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในส่งเสริมการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 มีสภาพปัจจุบันอยู่ในระดับมาก สภาพพึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษาขนาดเล็ก ตามลำดับความต้องการจำเป็นมากที่สุด ได้แก่ 1) ด้านการเป็นชุมชนกัลยาณมิตร 2) ด้านการมีโครงสร้างสนับสนุนชุมชน 3) ด้านการเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ 4) ด้านการมีภาวะผู้นำร่วม 5) ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม และ 6) ด้านการมีทีมร่วมแรงร่วมใจ
- แนวทางในการส่งเสริมการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 มีแนวทางตามความต้องการจำเป็นในระดับที่ต้องพัฒนา คือ 1) ผู้บริหารสถานศึกษาควรจัดกิจกรรมให้คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ และ 2) ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมให้มีการนิเทศจากภายในและภายนอกสถานศึกษา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License
References
กุลธิดา ทุ่งคาใน. (2561). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพบริบทคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 12(1),79-89
เกศทิพย์ ศุภวานิช. (2560). คู่มือการอบรมคณะกรรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสู่สถานศึกษาระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
นิยดา เปี่ยมพืชนะ. (2564). แนวทางการส่งเสริมการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1[บทคัดย่อ]. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
พิชิต ขำดี และต้องลักษณ์ บุญธรรม. (2562). ความต้องการจำเป็นของการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วารสารมหาวิทยาลัยศิลปกร, 39(2), 67-78.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (2560). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 134 ตอนที่ 14 ก, 6 เมษายน 2560.
วิราวรรณ์ เพ็ชรนาวา. (2563). แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตวิภาวดี กรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต].มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สันติ สีลา และวิเชียร รู้ยืนยง. (2563). แนวทางการส่งเสริมการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดขอนแก่น. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2547). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547. กรุงเทพ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2560) .หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ. สำนักงานปลัดกระทรวง. กระทรวงศึกษาธิการ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. (2565). รายงานผลการดำเนินงานประจำปี พ.ศ. 2565. กาฬสินธุ์. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. (2560). แนวทางการขับเคลื่อน PLC สู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน Thailand 4.0. จันทบุรี : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17.
สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). สถิติข้อมูลทางการศึกษา ปีการศึกษา 2565. สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กระทรวงศึกษาธิการ.
อมตา จงมีสุข และจุลดิศ คัญทัพ. (2564). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 3. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(1), 81-91.
อิสระ ดีครัน. (2563). แนวทางการส่งเสริมการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนพบพระ วาเล่ย์ รวมไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2. วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น, 8(2), 19.
Hord, S.M. (1997). Professional Learning Communities: Communities of Continuous Inquiry and Improvement (Internet). Southwest Educational Development Laboratory. Retrieved August 18, 2020 from http:/www.sedl.org/siss/plccredit.html
Insa-ard, Sayamon. (2017). A Development of Professional Learning Community of Practice to Enhance Practical Community Using Ict for Instruction of Basic Education Teachers. Veridian E-Journal, 10(2), 997-995.
Senge, P. M. (1990). The fifth discipline :The art and practice of the learning organization. London : Century Press.
Yamane, Taro. (1973). Statistics. An introductory Analysis (3rd ed). New York: Harper and Row Publication