การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนในครอบครัวแหว่งกลาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาศักยภาพเครือข่ายระดับพื้นที่ตำบล 2) พัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชน และ 3) ประเมินประสิทธิผลการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนในครอบครัวแหว่งกลาง
กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครู และนักเรียนซึ่งเป็นเด็กและเยาวชนในโรงเรียนทั้ง 8 แห่งในจังหวัดชัยภูมิที่สมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 230 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างผู้ถูกสัมภาษณ์สามารถฟังและตอบคำถามได้ทันทีทุกข้อและแบบประเมินประสิทธิผลของโครงการ (IOC = 0.67 - 1.00) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1) การพัฒนาศักยภาพเครือข่าย ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ประชุมผู้บริหารหรือผู้แทน (2) รับสมัครนักเรียนที่มีความสนใจในอาชีพเดียวกันอย่างน้อยกลุ่มอาชีพละ 10 คน ครูที่ปรึกษา 1– 2 คน (3) สมัครเข้าร่วมโครงการ (4) ดำเนินกิจกรรม (5) ประเมิน ติดตาม และ (6) แลกเปลี่ยนเรียนรู้
2) โครงการฝึกอาชีพและทักษะชีวิต ได้แก่ อาชีพช่างตัดผม การผลิตดอกไม้จันทน์ นาฝายบาเบอร์ เต้าฮวยอวยรัก การทำดอกไม้จันทน์ กล้วยฉาบเนย ข้าวแต๋นน้ำแตงโม การเพาะเห็ดนางฟ้า การเลี้ยงไก่งวง ช่างเสริมสวย แมลงทอดสมุนไพร แซนวิชไส้ทะลัก DIY ริบบิ้นแปลงกาย ในด้านการมีทักษะชีวิตสามารถเรียนรู้การแก้ปัญหา การวางแผน การรวบรวมข้อมูลและประยุกต์ใช้ข้อมูลได้อย่างเหมาะสมจนนำไปสู่การตัดสินใจ
3) การประเมินประสิทธิผลการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนในครอบครัวแหว่งกลาง พบว่า โดยรวมการดำเนินโครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์ สามารถสร้างอาชีพให้กับนักเรียน ฝึกทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา มีการประชุมสมาชิกร่วมกับครูที่ปรึกษา บูรณาการการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ผู้ปกครองหรือชุมชนรับทราบการดำเนินโครงการฝึกทักษะอาชีพอยู่ในระดับมากที่สุด ปัจจัยที่ทำให้โรงเรียนดำเนินโครงการได้บรรลุตามวัตถุ ได้แก่ งบประมาณ บุคลากร การติดตาม ความร่วมมือของทุกฝ่าย การต่อยอดกิจกรรมระหว่างชุมชนกับโรงเรียน ความสนใจ การสนับสนุนจากครูและผู้ปกครอง และการใช้วัสดุในท้องถิ่น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License
References
กันต์ณภัทร หาญละคร, นักเรียน. (2567, มกราคม 22). สัมภาษณ์.
เกียรติประวุฒิ เดชัย. นักเรียน. (2567, กุมภาพันธ์ 12). สัมภาษณ์.
ตุลย์รภัทร ศรีพระราม. นักเรียน. (2567, มกราคม 22). สัมภาษณ์.
ประทุมทิมพย์ เกรียมโพธิ์. ครู. (2567, กุมภาพันธ์ 12). สัมภาษณ์.
ปาณิศา กองสังข์. ครู. (2567, กุมภาพันธ์ 12). สัมภาษณ์.
เพชรา พิพัฒน์สันติกุล, และ สมใจ หุตะสุขพัฒน์. (2566). รูปแบบการพัฒนาเยาวชน 4.0 เพื่อสร้างนวัตกรรมเชิงทักษะอาชีพอย่างมีความคิดสร้างสรรค์. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรีรับใช้สังคม, 9(1), 34-48.
ภูเบศร์ สมุทรจักร, ธีรนุช ก้อนแก้ว, และ ริฎวัน อุเด็น. (2560). ความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทย.สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล นครปฐม. https://ipsr.mahidol.ac.th/wp-content/uploads/2022/03/Report-File-539.pdf
วินัดดา ปิยะศิลป์. (2546). ครอบครัวกับวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว.
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดชัยภูมิ. (2566). สถานการณ์ทางสังคมจังหวัดชัยภูมิ ประจำปี 2566. ชัยภูมิ.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2550). Career Development in Practice (พิมพ์ครั้งที่ 3) . กรุงเทพฯ: เอช. อาร์. เซ็นเตอร์.