การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมสะตีมศึกษา เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการทำงานเป็นทีม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

โสรยา อ่วมเมือง
ชนสิทธิ์ สิทธิสูงเนิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมสะตีมศึกษา 2) พัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมสะตีมศึกษา 3) ทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมสะตีมศึกษา 4) ประเมินประสิทธิผลหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมสะตีมศึกษากับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองชุมพล จังหวัดเพชรบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมสะตีมศึกษา (2) แบบประเมินทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรม (3) แบบประเมินทักษะการทำงานเป็นทีม และ (4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม
สะตีมศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติที และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า


1.ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมสะตีมศึกษา พบว่าผู้เกี่ยวข้องมีความต้องการให้มีองค์ประกอบสอดคล้องกับบริบทโรงเรียน ระบุความเป็นสะตีม (STEAM) ชัดเจน จัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เน้นให้นักเรียนมีโอกาสร่วมกันแสดงความคิดเห็นเพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรมและทักษะการทำงานเป็นทีม


2.ผลการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมสะตีมศึกษา ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ 2 หน่วยการเรียนรู้ อยู่ในเกณฑ์คุณภาพระดับมากที่สุด


  1. ผลการใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมสะตีมศึกษา จัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติมสะตีมศึกษารวมเวลา 40 ชั่วโมง ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ซึ่งการจัดการเรียนรู้ตามหน่วยการเรียนรู้ 2 หน่วยการเรียนรู้

  2. ผลการประเมินหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมสะตีมศึกษา พบว่า (1) นักเรียนมีผลการเรียนรู้หลังใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมสะตีมศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยผลการเรียนรู้หลังการใช้สูงกว่าก่อนใช้ (2) นักเรียนมีทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรมนักเรียนมีทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรมอยู่ในระดับดี (3) นักเรียนมีทักษะการทำงานเป็นทีมนักเรียนการทักษะการทำงานเป็นทีมอยู่ในระดับดี (4) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมสะตีมศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

โสรยา อ่วมเมือง, มหาวิทยาลัยศิลปากร

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 

ชนสิทธิ์ สิทธิสูงเนิน, มหาวิทยาลัยศิลปากร

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการปีงบประมาณ พ.ศ.2563. กรุงเทพฯ หน้า 6.

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. “ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2561 - 2580”. 2561. หน้า 2.

จุไรรัตน์ อนันต์ไพฑูรย์. (2563). การพัฒนาทักษะการทางานเป็นทีม ในรายวิชางานอาหาร โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. วิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต.

ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน, บุญรอด ชาติยานนท์, สุวิมล สพฤกษ์ศรี, เอกสิทธิ์ ชนินทรภูมิ, เอกชัย ภูมิระรื่น, สราญจิต อ้นพา, เสกสรร สุขเสนา (2565). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรและผลงานสร้างสรรค์สำหรับนักเรียน.วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์. 24(2), 146-158.

ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. (2564). การพัฒนาหลักสูตร. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทิศนา แขมมณี. (2551). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนกร อรรจนาวัฒน์. (2558). การพัฒนาความสามารถในการสื่อสารวิทยาศาสตร์และการทำงานเป็นทีมโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มของนักเรียชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญชนก ทาระเนตร. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษาที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่องเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2561. (25 ธันวาคม 2561). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 139 ตอนที่ 258 ง. หน้าที่ 1 - 153.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 9). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รัฐพงษ์ โพธิรังสิยากร. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับแนวคิดสะตีมศึกษาที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ฤกษ์ฤดี นาควิจิตร. (2563).การพัฒนาหลักสูตรที่เน้นการออกแบบการเรียนรู้ตามแนวสตีมศึกษาบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักศึกษาครู. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิจารณ์ พานิช. (2556). การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: บริษัท เอส อาร์.พริ้นติ้ง.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). การพัฒนาทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2552). “หลักสูตร”. สารานุกรมวิชาชีพครูเฉลิมพระเกียรตพิระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. หน้า 469 – 474.

วิศระ เชียงหว่อง. (2561). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง ป่าชายเลนคือชีวิต. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิสูตร โพธิ์เงิน. (2560). STEAM ศิลปะเพื่อสะเต็มศึกษา: การพัฒนาการรับรู้ความสามารถและแรงบันดาลใจให้เด็ก. วารสารครุศาสตร์, 1(45). 320-334.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 กรุงเทพฯ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากล ปี 2563 (IMD 2020) (พิมพ์ครั้งที่ 1). บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

เอกสิทธิ์ ชนินทรภูมิ. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด STEAM เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Rotherham, A., & Willingham, D. (2009). 21st century skills: The challenges ahead. Educational Leadership, 67(1). 16-21.

Yakman, G. (2008, March). STEAM Education: an overview of creating a model of integrative education. Retrieved August 15, 2022, from https://www.academia.edu/8113795/STEAM_Education_an_overview_of_creating_a_model_of_integrative_education