การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดงานท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม : กรณีศึกษา ประเพณีแห่ดาว ตำบลท่าแร่ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดงานท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของประเพณีแห่ดาว ตำบลท่าแร่ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดงานประเพณีแห่ดาว (3) ศึกษาแนวทางและข้อเสนอแนะในการจัดงานประเพณีแห่ดาว โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีเทคนิควิจัยที่สำคัญ ได้แก่ การสังเกตและการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่รัฐ 4 คน ผู้นำทางศาสนา 1 คน ผู้นำชุมชน 8 คน และประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ทั้งชายและหญิงที่อาศัยอยู่พื้นที่ตำบลท่าแร่ จำนวน 15 คน รวมทั้งสิ้น 28 คน
ผลการศึกษาพบว่า 1) ประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐมีส่วนร่วมในการจัดงานประเพณีเเห่ดาว โดยมีส่วนร่วมทั้ง 4 ด้าน คือ (1) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ คือจะมีการจัดประชุมอย่างน้อย 3 ครั้ง เพื่อเป็นการตกผลึกในการจัดงานและกำหนดหลักเกณฑ์ร่วมกัน (2) การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ ประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐมีส่วนร่วมในการจัดงาน เช่น การมีส่วนร่วมในการแสดงประวัติการประสูติของพระเยซู การกำหนดหลักเกณฑ์การจัดงาน การมีส่วนร่วมในขบวนแห่ดาว การบริหารจัดสรรงบประมาณ (3) การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ ประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐมีความภาคภูมิใจในการจัดงาน กระตุ้นเศรษฐกิจภายในชุมชน (4) การมีส่วนร่วมในการประเมินผล องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนครและเทศบาลตำบลท่าแร่ มีแบบประเมินผลของหน่วยงานตัวเองเพื่อสำรวจความพึงพอใจและนำผลการประเมินมาใช้เป็นแนวทางในการจัดงานครั้งถัดไป 2) ปัญหาและอุปสรรคในการจัดงานประเพณีแห่ดาว เช่น ปัญหาการจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอ ปัญหาที่ทิ้งขยะไม่เพียงพอ กิจกรรมมีรูปแบบกิจกรรมเดิม ๆ ไม่มีความแปลกใหม่และหลากหลาย ปัญหาการจราจรติดขัดทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง และ 3) แนวทางและข้อเสนอแนะในการจัดงานประเพณีแห่ดาวในครั้งถัดไป ได้เเก่ (1) เทศบาลตำบลท่าแร่และหน่วยงานภาครัฐควรจะเสนองบประมาณให้เพียงพอและเหมาะสม (2) ควรนำถุงดำหรือถุงขยะไปกระจายไว้ใน
จุดต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยว (3) ควรเพิ่มเติมกิจกรรมใหม่ ๆ เพื่อดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว (4) ควรเพิ่มการดูแลการจราจรให้มากขึ้นเพื่อลดปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License
References
กันตชา ศรีอยุธย์. (2564). การศึกษากระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชนท่องเที่ยวโอทอปนวัตวิถีบ้านต้นโพธิ์ จังหวัดปทุมธานี เพื่อการท่องเที่ยงอย่างยั่งยืน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กัลยาณี ธีระวงศ์ภิญโญ, นพดล ธีระวงศ์ภิญโญ และสาคร ปลื้มรัมย์. (2565). นวัตกรรมทางสังคมในการจัดการและเพิ่มมูลค่าขยะชุมชนเพื่อรองรับการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสหวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 6(2), 25 - 44.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). ประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. https://www.tat.or.th/th/about-tat/history
จริยาภรณ์ เจริญชีพ. (2560). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาตำบลถ้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี. วารสารสารสนเทศ, 16(2), 85-97.
ชายชาญ ปฐมกาญจนา และนรินทร์ สังข์รักษา. (2558). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตลาดบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 26(1), 118-129.
บุญอนันต์ บุญสนธิ์. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตำบลหนองบอน อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14(1), 291-301.
ฤทธิจักร จันทิมา. (2565). แนวทางการพัฒนาภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ภาคเหนือแบบยั่งยืน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิชิต สุขศิริ และชาญชัย จิวจินดา. (2562). บทบาทผู้นำชุมชนกับการธำรงอัตลักษณ์ประเพณีแห่ดาวบ้านท่าแร่ ตำบลท่าแร่ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. วารสาร มมร วิชาการล้านนา, 8(1), 17-31.
สุภางค์ จันทวานิช. (2556). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 11). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation. Concept and Measure for Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee Center for international Studies. Cornell University Press.