การพัฒนารูปแบบการให้คำปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการที่มีผลต่อความเหนื่อยหน่าย ในการเรียนของนักศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชุมพร

Main Article Content

กฤษณะ เริงสูงเนิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นรูปแบบการวิจัยและพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของความเหนื่อยหน่ายในการเรียนของนักศึกษา 2) เพื่อสร้างและหาคุณภาพของโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการที่มีผลต่อความเหนื่อยหน่ายในการเรียนของนักศึกษา 3) เพื่อเปรียบเทียบผลการใช้โปรแกรมก่อนและหลังการให้คำปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการที่มีต่อผลคะแนนความเหนื่อยหน่ายในการเรียนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาหลังการใช้โปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการที่มีผลต่อความเหนื่อยหน่ายในการเรียนของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาที่มีคะแนนความเหนื่อยหน่ายในการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 16 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงที่สมัครใจเข้ารับการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการที่มีผลต่อความเหนื่อยหน่ายในการเรียนของนักศึกษา 2) แบบวัดความเหนื่อยหน่ายในการเรียนของนักศึกษา และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาหลังการใช้โปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการที่มีผลต่อความเหนื่อยหน่ายในการเรียนของนักศึกษา ซึ่งแบบวัดและแบบประเมินผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 ท่าน มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.80 - 1.00 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ The Mann-Whitney U test


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. องค์ประกอบของความเหนื่อยหน่ายในการเรียน ประกอบด้วย ความอ่อนล้าทางอารมณ์ ความอ่อนล้าทางสภาวะบุคคล และความอ่อนล้าทางผลลัพธ์ของบุคคล

  2. โปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการที่มีผลต่อความเหนื่อยหน่ายในการเรียนของนักศึกษามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.46 มีความเหมาะสมมากที่สุด

  3. นักศึกษามีคะแนนความเหนื่อยหน่ายในการเรียนหลังการเข้าร่วม โปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการที่มีต่อผลคะแนนความเหนื่อยหน่ายในการเรียนลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับคะแนน ความเหนื่อยหน่ายในการเรียนก่อนการทดลองแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01

  4. นักศึกษามีความพึงพอใจหลังการใช้โปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการที่มีผลต่อความเหนื่อยหน่ายในการเรียนของนักศึกษามีความพึงพอใจมากที่สุด ค่าเฉลี่ยรวมทั้งหมดเท่ากับ 4.53

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

กฤษณะ เริงสูงเนิน, มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชุมพร

คณะศึกษาศาสตร์

References

ชัยพร พงษ์พิสันต์รัตน์. (2562). การพัฒนาโปรแกรมการให้การปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีเผชิญความจริง เพื่อลดความเหนื่อยหน่ายในการเรียนของนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. [ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ฝ่ายสื่อสารองค์กรและเทคโนโลยี สถาบันราชานุกูล. (ม.ป.ป.). เด็กไทยเรียนหนักที่สุดในโลก. สถาบันราชานุกูล. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2565 จาก https://shorturl.at/mhQHR

พรรณวิภา บรรณเกียรติ สุวรรณา อนุสันติ และนิราศศิริ โรจนธรรมกุล. (2565). การฒนาโปรแกรมฝึกอบรมการเสริมสร้างสมรรถนะการให้คําปรึกษาสุขภาพจิตนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นสำหรับครูโรงเรียนสอนคนตาบอด. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ, 8(1), 165 - 178.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สิริยากร เดชมณีธร. (2562). ภาวะเหนื่อยหน่าย (burnout) ของพนักงานเจเนอเรชั่นวายที่ทำงานในธนาคาร : กรณีศึกษาเปรียบเทียบธนาคารของรัฐและธนาคารเอกชน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Abós, Á., Sevil-Serrano, J., Haerens, L., Aelterman, N., & García-González, L. (2019). Towards a more refined understanding of the interplay between burnout and engagement among secondary school teachers: A person-centered perspective. Learning and Individual Differences, 72, 69–79. https://doi.org/10.1016/j.lindif.2019.04.008

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing. 3 rd ed. New York: Harper & Row.

Fiorilli, C., De Stasio, S., Di Chiacchio, C., Pepe, A., & Salmela-Aro, K. (2017). School burnout, depressive symptoms and engagement: Their combined effect on student achievement. International Journal of Educational Research, 84, 1–12. https://doi.org/10.1016/j.ijer.2017.04.001

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610. https://doi.org/10.1177/001316447003000308

Luo, Y., Wang, Z., Zhang, H., Chen, A., & Quan, S. (2016). The effect of perfectionism on school burnout among adolescence: The mediator of self-esteem and coping style. Personality and Individual Differences, 88, 202–208. https://doi.org/10.1016/j.paid.2015.08.056

Ma, H., Zou, J., Zhong, Y., Li, J., & He, J. (2022). Perceived stress, coping style and burnout of Chinese nursing students in late-stage clinical practice: A cross-sectional study. Nurse Education in Practice, 62, 103385. https://doi.org/10.1016/j.nepr.2022.103385

Salmela‐Aro, K., & Tynkkynen, L. (2012). Gendered pathways in school burnout among adolescents. Journal of Adolescence, 35(4), 929–939. https://doi.org/10.1016/j.adolescence.2012.01.001

Wang, M.-T., Chow, A., Hofkens, T., & Salmela-Aro, K. (2015). The trajectories of student emotional engagement and school burnout with academic and psychological development: Findings from Finnish adolescents. Learning and Instruction, 36, 57–65. https://doi.org/10.1016/j.learninstruc.2014.11.004

Wei, X., Wang, R., & MacDonald, E. (2015). Exploring the Relations between Student Cynicism and Student Burnout. Psychological Reports, 117(1), 103–115. https://doi.org/10.2466/14.11.PR0.117c14z6

Widlund, A., Tuominen, H., Tapola, A., & Korhonen, J. (2020). Gendered pathways from academic performance, motivational beliefs, and school burnout to adolescents’ educational and occupational aspirations. Learning and Instruction, 66, 101299. https://doi.org/10.1016/j.learninstruc.2019.101299