ความเป็นอิสระจากการตรวจสอบภายในและการบรรลุเป้าหมาย: หลักฐานเชิงประจักษ์ของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นอิสระจากการตรวจสอบภายใน (การเขียนแผนการตรวจสอบ, การตรวจสอบ และการรายงาน) และการบรรลุเป้าหมายของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารฝ่ายตรวจสอบภายในของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย จำนวน 57 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคุณและการวิเคราะห์ การถดถอยแบบพหุคุณ ผลการวิจัยพบว่า ความเป็นอิสระจากการตรวจสอบภายในด้านการเขียนแผนการตรวจสอบและการตรวจสอบมีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับการบรรลุเป้าหมาย ดังนั้นสถาบันอุดมศึกษาควรให้ความสำคัญต่อความเป็นอิสระจากการตรวจสอบภายในซึ่งช่วยลดความเสี่ยงทั้งภายในและภายนอกนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายองค์กร
Article Details
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License