การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาวงกลม โดยใช้เทคนิค KWDL ร่วมกับแอปพลิเคชัน Kahoot สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL ร่วมกับแอปพลิเคชัน Kahoot เรื่องโจทย์ปัญหาวงกลม สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่ม ตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/6 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนอนุบาลชัยภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 45 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL ร่วมกับแอปพลิเคชัน Kahoot เรื่อง โจทย์ปัญหาวงกลม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่องโจทย์ปัญหาวงกลม โดยใช้แผนการทดลอง One-Group Pretest- Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
แบบ dependent
ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่องโจทย์ปัญหาวงกลม หลังได้รับการจัดการเรียนโดยใช้เทคนิค KWDL ร่วมกับแอปพลิเคชัน kahoot สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนโดยใช้เทคนิค KWDL ร่วมกับแอปพลิเคชัน Kahoot อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). เอกสารประกอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จรัญ กองศรีกุลดิลก. (2552). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้แบบฝึกกิจกรรมการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ที่เน้นการวางแผนการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดบางกุฎีทอง จังหวัดปทุมธานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
จีระพงษ์ โพพันธุ์. (2562). ศึกษาการพัฒนาบทเรียนออนไลน์เทคโนโลยีสารสนเทศ. ครูไอที. https://kru-it.com/dt-m1/meaning-of-technology/
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น.กรุงเทพฯ: สุรีวิริยาสาสน์.
พรรณี อุ่นละม้าย. (2563). การจัดกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติโดยใช้โปรแกรม Kahoot สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปราโมชวิทยารามอินทรา. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14(1), 176 – 191.
วิจารณ์ พานิช. (2560). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์. กรุงเทพมหานคร: ตถาตา พับลิเคชัน.
วิศรุต ตะกรุดแจ่ม. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการคิดวิเคราะห์ เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ KWDL ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
สมพร กุลนานนท์ . (2560). การใช้สื่อการสอนโปรแกรม Kahoot Application ในการวัดและประเมินผล. วิทยาลัยเทคโนโลยีเมืองชลบริหารธุรกิจ. https://www.m-bac.ac.th/attachments/view/?attach_id=263201